LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การใช้กิจกรรม TEAM Building ผ่านฐานการเรียนรู้สืบฮีตดนตรีล้านนาเ

usericon

1. ชื่อนวัตกรรม     การใช้กิจกรรม TEAM Building ผ่านฐานการเรียนรู้สืบฮีตดนตรีล้านนาเพื่อพัฒนาทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดล้านตอง
ชื่อผู้เสนอผลงาน    นายสุรพงศ์ เจริญทรัพย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้    ศิลปะ
โรงเรียน/หน่วยงาน    โรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
โทรศัพท์มือถือ     064-4795363     E-mail : takandtakandtak@gmail.com 2. ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม
    ปัจจุบันเป็นยุคสมัยใหม่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านวิทยาการ สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและฐานความรู้ โลกได้เคลื่อนสู่ “สังคมความรู้” (knowledge-based society) ทักษะที่จำเป็นในสังคมความรู้ คือ ทักษะการคิด วิเคราะห์ ทักษะในการเลือกสรรและประมวลข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดศึกษาและการเรียนรู้ควรมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคนในฐานะพลเมืองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างสมดุล มีทักษะจำเป็นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีภาวะผู้นำการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย การเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวม และการเรียนรู้เพื่อการนำไปปฏิบัติมุ่งสร้างการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งนี้ หลักสูตรและวิธีการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มิใช่การจดจำเนื้อหาวิชา เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริงและลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงและต่อยอดความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง ผู้สอนต้องสามารถสร้างและออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศเกื้อหนุนและเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย การเชื่อมโยงความรู้หรือแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชนและสังคมโดยรวม จัดการเรียนรู้ผ่านบริบทความเป็นจริง และการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
    ทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21 (21ST Century Skills) เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนคนไทย ในฐานะการเป็นพลเมืองของโลก ที่มีการดำรงชีวิตท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยีโลกของเศรษฐกิจและการค้า โลกาภิวัตน์กับเครือข่าย ความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ความเป็นสังคมเมือง ประเทศไทยจำเป็นต้องค้นหายุทธศาสตร์ใหม่ในการพัฒนาระบบการศึกษาสอดคล้องกับแนวคิดของวิจารณ์ พานิช (2556) ที่กล่าวว่า การศึกษาที่ถูกต้องสำหรับศตวรรษใหม่ ต้องเรียนให้บรรลุทักษะ จากรู้วิชาไปสู่ทักษะในการใช้วิชาเพื่อการดำรงชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง การเรียนจึงต้องเน้นเรียนโดยการลงมือทำ หรือการฝึกฝนนั่นเอง และคนเราต้องฝึกฝนทักษะต่างๆ ที่จำเป็นตลอดชีวิต เครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับการเรียนรู้ร่วมกันของทั้งผู้บริหารการศึกษาครูและผู้เรียนบนฐานคิด “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้”และ“กระบวนการหาคำตอบสำคัญกว่าคาตอบ” โดยใช้ฐานคิด “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21stCentury skills) เพื่อรองรับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและส่งเสริมการผลิตกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 โดยอยู่บนพื้นฐานความเป็นไทยและฐานคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เข้าใจตัวตนความเป็นไทยอย่างเข้มแข็งก่อนเข้าสู่เวทีประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน
    การจัดการเรียนการสอน การฝึกฝนให้ผู้เรียนการการเรียนรู้ ต้องใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ทักษะด้านการท่องจำอีกต่อไป แต่ในสภาพปัจจุบัน ครูยังสอนด้วยวิธีการบรรยาย โดยยึดเนื้อหาจากหนังสือเรียน ไม่ได้ยึดมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด ตามหลักสูตร การสอนเป็นการสอนเนื้อหา ไม่ได้เน้นสอนกระบวนการ อันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเมื่อเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในยุคนี้จึงควรมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ และคุณลักษณะขั้นพื้นฐาน ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ รู้จักตัวเอง รู้จักโลกและมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ดังนั้น การสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพในการใช้ชีวิตอยู่ได้ในสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยครูต้องเป็นผู้สร้างผู้เรียนทุกคนให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำแนวคิดของวิจารณ์ พาณิช (2555 หน้า 18-21) ที่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา มีการเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาครูผู้สอน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
ให้เป็นครูยุคใหม่ ที่ไม่เน้นการสอน แต่จะทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เน้นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ครูจะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (Coaching) ในด้านเนื้อหาสาระสำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 จะยึดหลัก 3R ได้แก่ Reading (อ่านออก) (W) Riting (เขียนได้) (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น) และ 8C ได้แก่ 1) Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) 2) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม) 3) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) 4) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม) 5) Communications, Information and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) 6) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) 7) Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและการเรียนรู้) 8) Compassion (ความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม) ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้สอนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ในการมีบทบาทจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว
    การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็น กลุ่ม สมาชิกมีความสามารถในการเรียนต่างกัน สมาชิกกลุ่มจะมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับการ สอน และช่วยให้เพื่อนสมาชิกเกิดการจัดการเรียนรู้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยมีเป้าหมายใน การทำงานร่วมกัน คือเป้าหมายของกลุ่ม (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2558, น.183) จากลักษณะของการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการทำงานเป็นทีมที่มีความสอดคล้องกันคือการมีปฏิสัมพันธ์กันของ 4 สมาชิก ซึ่งจากทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูราที่กล่าวว่า คนเราเรียนรู้ในสิ่งต่างๆที่ อยู่รอบๆตัวเราอยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตหรือการเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งตัวแบบ สามารถถ่ายทอดทั้งความคิดและการแสดงออกได้พร้อมๆกัน (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2558, น.184) จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นให้ผู้เรียนทำงานรวมเป็นกลุ่ม ช่วยทำให้เกิด การทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งเป็นทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมที่ต้องมีการส่งเสริมให้ทันในยุคการเปลี่ยนแปลงทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมโดย Partnership for 21 Century Skills ได้มีการแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ (1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (2) เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเป็นผู้นำ (3) ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (4) การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด (5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระตามหลักสูตรควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะที่จำเป็น โดยกำหนดแผนการบริหารงานวิชาการให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีสุนทรียภาพ เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านอารมณ์ได้เป็นอย่างดี Music Team building หรือ การสร้างทีมด้วยดนตรี เป็นกิจกรรมทางดนตรีเพื่อพัฒนา Soft skills หรือ Social Skills ของตัวผู้เรียน โดยออกแบบกิจกรรมทางดนตรีจาก กระบวนการคิดวิเคราะห์ค้นหาปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา และยังสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การสร้างภาวะผู้นำ ผู้ตาม มาใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้าง Team Work โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางทักษะด้านการเล่นดนตรี หรือการบรรเลงดนตรีรวมวง ผ่านฐานการเรียนรู้สืบฮีตดนตรีล้านนา
    เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ดนตรี) แล้วผู้เรียนจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้ คือมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและ ครอบครัว มีทักษะในการทำงานร่วมกัน สามารถทำงานอย่างมีกลยุทธ์ สร้าง Team Work มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รักการทำงาน ประหยัด อดออม ตรงต่อเวลา เอื้อเฟื้อ เสียสละ และมีวินัยในการทำงาน เห็นคุณค่าความสำคัญของงานและอาชีพสุจริตตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรม และเกิดความสามัคคี ทั้งยังอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้
    โรงเรียนวัดล้านตอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขนาดกลาง ได้น้อมนำหลักคิด องค์ความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์ในทุกๆ เรื่อง ทั้งในด้านการบริหาร การจัดการเรียนการสอน นักเรียนได้รับการบ่มเพาะอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งเป็นการติดอาวุธทางความคิดเพิ่มทักษะชีวิตให้กับ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน ประกอบกับโรงเรียนวัดล้านตองเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนอย่างหลากหลาย โรงเรียนจึงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของโรงเรียนในตำบล ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน จึงเห็นความสำคัญที่จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเผยแพร่ ขยายผล องค์ความรู้ หลักคิด รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ให้กับโรงเรียนเครือข่ายและหน่วยงานที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เนื่องจากโรงเรียนวัดล้านตอง มีความพร้อมในด้าน (1) ด้านบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและต้องการให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้และเป็นแหล่งศึกษาดูงานของโรงเรียนเครือข่าย ผู้สนใจ เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนวัดล้านตองมีครูแกนนำ จำนวน 17 คน นักเรียนแกนนำ จำนวน 40 คน จากจำนวน 179 คน ที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถเป็นวิทยากรเผยแพร่ขับเคลื่อนขยายผลความรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียน โรงเรียนใกล้เคียง โรงเรียนในเครือข่ายและโรงเรียนอื่นๆ พร้อมทั้งให้บริการแก่ชุมชนได้ (2) ด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนวัดล้านตอง มีผู้รับผิดชอบอาคารสถานที่ชัดเจน โรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น และปลอดภัย ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้ มีห้องประชุมที่สามารถรองรับผู้ศึกษาดูงานได้เพียงพอ มีห้องข้อมูลสารสนเทศที่ประกอบด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการทรงงาน ตัวอย่างโครงการในพระราชดำริที่สำคัญ แผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เชื่อมโยงกับฐานการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบทุกระดับชั้นและครบทุกฐานการเรียนรู้ มีการถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้ ครบทุกฐานการเรียนรู้ (3) ด้านแหล่ง/ฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนโดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญจำนวน 4 ฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ปลูกผักปลอดสารเพื่ออาหารกลางวัน ฐานการเรียนรู้สานฝันงานอาชีพ ฐานการเรียนรู้สืบฮีตดนตรีล้านนา และฐานการเรียนรู้หรรษาลายเมือง ซึ่งสอดคล้องกับสภาพบริบทและภูมิสังคมของโรงเรียน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละฐานการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ของฐานการเรียนรู้ การถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้ แผนฐานการเรียนรู้ แผนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใบงาน แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานการเรียนรู้ และมีแผนผังฐานในแต่ละฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนโรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมทักษะความร่วมมือ การทำงานป็นทีมและภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ผู้วิจัยจึงดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำงานเป็นทีม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ TEAM Building เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมและการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง เพื่อพัฒนาทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของดนตรีพื้นบ้านผ่านการทำงานเป็นทีม และรู้จักการวางแผนในการร่วมปฏิบัติเครื่องดนตรีด้วยกัน อันเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับนักเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ อันเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 และรองรับการเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน และบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติที่ว่านักเรียนเป็นผู้ที่ ดี เก่ง มีสุขและดำรงชีวิตใน สังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดล้านตอง
3. วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรม
3.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
    1. เพื่อพัฒนาทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำและการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตองก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ TEAM Building ผ่านฐานการเรียนรู้สืบฮีตดนตรีล้านนา
    2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้จากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ TEAM Building เพื่อพัฒนาทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำและการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่21 ภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดล้านตอง
3.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน     
    1. เชิงปริมาณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวัดล้านตอง จำนวน 36 คน
    2. เชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวัดล้านตอง ได้พัฒนาทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำและการเรียนรู้ มีความยืดหยุ่นและการปรับตัว เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเป็นผู้นำทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ฝึกการเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด รวมไปถึงการมีภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^