LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567

งานวิจัยในชั้นเรียน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน

usericon


การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัย
และความรับผิดชอบ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
ปีการศึกษา 2559







นางธวัลรัตน์ เลิศวิชิตณรงค์






โรงเรียนร่อนทองพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
กิตติกรรมประกาศ

    การจัดทำวิจัยฉบับนี้ ได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากคุณครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกท่าน ขอขอบคุณท่านเจ้าของเอกสาร บทความ ทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือในการค้นคว้าเอกสารอ้างอิง พร้อมทั้งนักเรียน และผู้ปกครอง ที่ให้การสนับสนุนในการจัดทำวิจัย



                                นางธวัลรัตน์ เรืองจันทร์
                                 30 กันยายน 2558

















สารบัญ

บทที่ 1     ความเป็นมาและความสำคัญ
    ความสำคัญของการศึกษา ...…..…………………….............................................     1
    วัตถุประสงค์    .……………………………………….........................................     2
    สมมุติฐานการวิจัย    .…………………….....................................................................    2
    ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า..…………....................................................................    2
    นิยามศัพท์เฉพาะ....………………………………......................................................    2
บทที่ 2    เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง    
        จิตวิทยาการศึกษา    ……………………..…………………………..............................    3
        เจตคติ (Attitude) ……………………..…………………………..............................    8
        ทฤษฎีแรงจูงใจ ……………………..………………………….................................    14
        ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข แบบแบบการกระทำของสกินเนอร์…………………    15
บทที่ 3    วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า    
    ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย        …...…………………….....................................     16
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง    ……………………………………….............................     17
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย    …………………………….............................................     17
    การเก็บรวบรวมข้อมูล    …………………….........................................................     17
    การวิเคราะห์ข้อมูล        …………………….........................................................     17
บทที่ 4    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    การวิเคราะห์ข้อมูล        ......................................................................................... 18
    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล        ………………………........................................ 21
บทที่ 5    สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ    
    ความมุ่งหมาย        ………………………………………..............................     23
    ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง    ..……………………………...........................................     23
    เครื่องที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า    ……………………………...............................     23
    วิธีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล………..………………......................................     23
    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล    ……………….. ….........................................................     23    ข้อเสนอแนะ    ……………….………………….................................................     25
    บรรณานุกรม    

บทคัดย่อ

งานวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้เป็นผู้มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการเรียนดีขึ้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนร่อนทองพิทยาคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ ข้อมูลด้านการเรียนของแต่ละวิชา และการตอบแบบสอบถามจากนักเรียน การใช้แรงจูงใจเสริมแรงโดยให้คำชมเชยแก่นักเรียน รวมทั้งดูแลด้านการเรียนให้มีความรับผิดชอบ สนใจเรียน และติดตามจากผู้ปกครอง คุณครูที่เข้าสอนแต่ละวิชา ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นต่อการมาเรียนและการเรียนมากขึ้น มีความเอาใจใส่ต่อการเรียน รับผิดชอบและสนใจเรียนมากขึ้น ทำให้บรรยากาศการเรียนภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ขาดเรียนหรือมาสาย ทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงกำหนดเวลา รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความเต็มใจ


















บทที่ 1
ความเป็นมาและความสำคัญ

    ปัจจุบันสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง จึงจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มาเกื้อหนุนกัน ซึ่งต้องมีการพัฒนาโดยต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่มีคุณภาพและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ โดยจะต้องมีคุณสมบัติด้านสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดี มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถ มีความอดทน ขยันขันแข็ง ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก กล้าเผชิญปัญหาและอุปสรรคด้วยความมุ่งมั่น ถ้ามนุษย์ทุกคนมีคุณสมบัติดังกล่าวก็จะเป็นผู้มีวินัยในตนเอง ซึ่งจะเป็นวัฒนธรรมที่ทุกคนในสังคมต้องปฏิบัติ เพราะจะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข วินัยจึงเป็นคุณธรรมที่ควรสร้างและปลูกฝังให้ทุกคนใช้เป็นแนวทางสำหรับบังคับพฤติกรรมของตนเอง ทำให้บรรลุตามจุดหมายของชีวิตและประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะฉะนั้นครูควรสร้างสรรค์วินัยให้เกิดแก่นักเรียน เมื่อนักเรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนจะทำให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทางที่ดีงาม จึงควรมีการปลูกฝังให้ยึดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถ้าหากในสังคมไม่มีการปลูกฝังและพัฒนาเด็กให้มีวินัยและมีคุณภาพแล้ว การพัฒนาสังคมและประเทศก็จะเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพจึงควรต้องปลูกฝังวินัยในตนเองให้เป็นพื้นฐาน ในที่สุดก็จะสามารถพัฒนาประเทศชาติให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากในการที่จะพัฒนาให้มนุษย์มีประสิทธิภาพและศักยภาพสูงสุด     จากการเป็นคุณครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนร่อนทองพิทยาคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลนักเรียนด้านพฤติกรรมและการเรียนของนักเรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน พบว่า พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนบางคนในห้องเรียนไม่สนใจเรียน ขาดความรับผิดชอบและระเบียบวินัย จึงทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ไม่เอื้อต่อการเรียนการสอนและมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จึงทำให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้จะส่งผลต่อนักเรียนบางคนที่มีผลการเรียนค่อนข้างต่ำ จึงต้องใช้กระบวนการวิจัยมาแก้ปัญหา โดยการนำทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีการวางเงื่อนไข มาใช้กับนักเรียนเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนและส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน ให้เกิดการเรียนรู้เต็มศักยภาพและความสามารถของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีวินัย ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสม เป็นการปลูกฝังระเบียบวินัย การรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลการเรียนดีขึ้น
ความสำคัญของการศึกษา
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงด้านพฤติกรรมการเรียน เมื่อนักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นผู้ที่มีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบ จะทำให้นักเรียนสนใจเรียนและมีความขยันอดทน มีแรงจูงใจ
- 2 -
ทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน และครูทุกท่านที่จะนำมาเสริมสร้าง พัฒนานักเรียนให้มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน สังคมและประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์
    เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้เป็นผู้มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการเรียนดีขึ้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนร่อนทองพิทยาคม

สมมุติฐานการวิจัย
    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียน ทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพด้านพฤติกรรมและการเรียนให้ดีขึ้น

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
    1. ประชากร ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ของโรงเรียนร่อนทองพิทยาคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 22 คน
    2. ตัวแปรที่ศึกษา
     2.1 ตัวแปรอิสระ คือ พฤติกรรมด้านวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองได้แก่
         วินัยในตนเอง
         ความรับผิดชอบ
         แรงจูงใจในการเรียน
    2.2 ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมด้านความมีวินัยในตนเอง

นิยามศัพท์เฉพาะ
     ความมีวินัยในตนเอง หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบและไม่ทำผิดต่อกฎระเบียบในการเป็นนักเรียน
    ความรับผิดชอบ หมายถึง ความมุ่งมั่นของนักเรียนที่จะงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และตั้งใจเรียนอย่างเต็มความสามารถ
    แรงจูงใจในการเรียน หมายถึง การแสดงพฤติกรรมเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น คำชมเชย การให้รางวัล ฯลฯ แล้วสามารถประพฤติตนได้บรรลุเป้าหมายโดยการเรียนรู้ของแต่ละคน




- 3 -
บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงานวิจัย มีดังนี้
    จิตวิทยาการศึกษา
    เจตคติ (Attitude)
    ทฤษฎีแรงจูงใจ
    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข แบบแบบการกระทำของสกินเนอร์
จิตวิทยาการศึกษา
    จิตวิทยาการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักศึกษาและครู จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนถึงปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการ
ความสำคัญของการศึกษาจิตวิทยาการศึกษา
    ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความชัดเจนของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษาบทเรียนตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เนื่องจากวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้เพราะจะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่าง ๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ แล้ว นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอนและในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ทฤษฎีการเรียนรู้ นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ ผู้เรียน เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษยนิยม หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้
-4-
สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครูมีความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
    1. ช่วยให้ครูรู้จักลักษณะนิสัยของนักเรียนที่ครูต้องสอนโดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพเป็นส่วนรวม
    2. ช่วยให้ครูมีความเข่าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน เช่น อัตมโนทัศน์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรียนรู้ถึงบทบาทของครูในการที่ช่วยนักเรียนให้มีอัตมโนทัศน์ที่ดีและถูกต้องได้อย่างไร
    3. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อจะได้ช่วยนักเรียนเป็นรายบุคคลให้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
    4. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก้วัยและขั้นพัฒนาการของนักเรียน
เพื่อจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจและมีความที่อยากจะเรียนรู้
    5. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเช่นแรงจูงใจอัตมโนทัศน์ และการตั้งความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียน
    6. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน เพื่อทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้นักเรียนทุกคนเรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้
        6.1 ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนที่จะต้องสอนและสามารถที่จะเขียนวัตถุประสงค์ให้นักเรียนเข้าใจว่าสิ่งคาดหวังให้นักเรียนรู้มีอะไรบ้าง โดยถือว่าวัตถุประสงค์ของบทเรียนคือสิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนทราบ เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง
        6.2 ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม โดยคำนึงลักษณะนิสัยของนักเรียนและวิชาที่สอน และกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
        6.3 ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้นแต่ใช้ประเมินความพร้อมของนักเรียนก่อนสอน ในระหว่างที่ทำการสอน เพื่อทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าหรือมีปัญหาในการเรียนรู้อะไรบ้าง
    7. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้ที่นัก ได้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี เช่น การเรียนจากการสังเกตหรือการเลียนแบบ
    8. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งพฤติกรรมของครูที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง เช่น การใช้คำถาม การให้แรงเสริม และการทำตนเป็นต้นแบบ
    9. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว
แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติหรืออัตมโนทัศน์ของนักเรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียน
- 5 -
    10. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน ครูและนักเรียนมีความรักและไว้วางใจซึ่งกันและกันนักเรียน ต่างก็ช่วยเหลือกันและกัน ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ที่ทุกคนมีความสุขและนักเรียนรักโรงเรียน อยากมาโรงเรียน    
    เนื่องจากการศึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เยาวชนพัฒนาการทั้งทางด้านเชาวน์ปัญญา และทางบุคลิกภาพ เพื่อช่วยให้เยาวชนมีความสำเร็จในชีวิต ทุกประเทศจึงหาทางส่งเสริมการศึกษาให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานความเป็นเลิศ ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษาจึงสำคัญในการช่วยทั้งครูและนักศึกษาผู้มีความรับผิดชอบในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน
พัฒนาการจิตวิทยาการศึกษา
    จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีคนสนใจมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณก่อนคริสต์กาล มีนักปรัชญาชื่อ พลาโต (Plato 427 – 347 ก่อนคริสต์กาล) อริสโตเติล (Aristotle 384 – 322 ก่อนคริสต์กาล) ได้กล่าวถึงธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงปรัชญามากกว่าแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาในยุคนั้นเป็นแบบเก้าอี้โต๊ะกลมหรือเรียกว่า Arm Chair Method เรียกจิตวิทยาในยุคนั้นว่า จิตวิทยายุคเก่าเพราะนักจิตวิทยานั่งศึกษาอยู่กับโต๊ะทำงาน โดยใช้ความคิดเห็นของตนเองเพียงอย่างเดียวไม่มีการทดลอง ไม่มีการวิเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น ต่อมาอริสโตเติลได้สนใจจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและได้เขียนตำราเล่มแรกของโลกเป็นตำราที่ว่าด้วยเรื่อง วิญญาณชื่อ De Anima แปลว่า ชีวิต เขากล่าวว่า วิญญาณเป็นต้นเหตุให้คนต้องการเรียนจิตวิทยา คนในสมัยโบราณจึงศึกษาจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าวิญญาณจะสิงอยู่ในร่างกายของมนุษย์ขณะมีชีวิตอยู่ เมื่อคนสิ้นชีวิตก็หมายถึงร่างกายปราศจากวิญญาณและวิญญาณออกจากร่างล่องลอยไปชั่วระยะหนึ่งแล้วอาจจะกลับสู่ร่างกายคืนอีกได้ และเมื่อนั้นคน ๆ นั้นก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก ชาวกรีกจึงมีการคิดค้นวิธีการป้องกันศพไม่ให้เน่าเปื่อยที่เรียกว่า มัมมี่ เพื่อคอยการกลับมาของวิญญาณ ต่อมาประมาณศตวรรษที่
11 - 12 ได้เกิดลัทธิความจริง (Realism) เป็นลัทธิที่เชื่อสภาพความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ และลัทธิความคิดรวบยอด (Conceptualism) ที่กล่าวถึงความคิดที่เกิดหลังจากได้วิเคราะห์พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ถี่ถ้วนแล้ว จากลัทธิทั้งสองนี้เองทำให้ผู้คนมีความคิดมากขึ้นมีการคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง จึงเป็นเหตุให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจในทางวิทยาศาสตร์ และจึงเริ่มมาสนใจในเรื่องจิตวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังสนใจศึกษาเรื่องจิตมากขึ้นด้วย รวมทั้งให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจิตสำนึก (Conscious) อันได้แก่ การมีสมาธิ การมีสติสัมปชัญญะ และเชื่อว่าจะเป็นมนุษย์ได้จะต้องประกอบไปด้วย ร่างกายกับจิตใจ จึงมีคำพูดติดปากว่า “A Sound mind is in a sound body” จิตที่ผ่องใสอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ ความสนใจเรื่องจิตจึงมีมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า จิต แบ่งสามารถเป็นส่วนๆ ได้แก่ ความคิด (Idea) จินตนาการ (Imagine) ความจำ (Memory) การรับรู้ (Concept) ส่วนที่สำคัญที่สุดเรียกว่า Faculty of will เป็นส่วนหนึ่งของจิตที่สามารถสั่งการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของร่างกายต่อมา Norman L. Mumm มีความสนใจเรื่องจิต เขา
กล่าวว่า จิตวิทยา คือ การศึกษาเรื่องจิต ในปี ค.ศ. 1590 คำว่า Psychology จึงเป็นที่รู้จักและสนใจของคนทั่วไป

- 6 -
    จอห์น ลอค (John Locke ค.ศ. 1632 - 1704) ได้ชื่อว่าเป็น บิดาจิตวิทยาแผนใหม่ เขาเชื่อว่า ความรู้สึกตัว ( Conscious ) และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวที่มีอิทธิพลต่อจิต
    วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา     การศึกษาทางจิตวิทยาใช้หลาย ๆ วิธีการมาผสมผสานและทำการวิเคราะห์บนสมมุติฐาน นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น การตรวจสอบตนเอง การสังเกต การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี การสัมภาษณ์ การทดสอบ ดั งจะอธิบายเรียงตามลำดับต่อไปนี้    
    1. การตรวจสอบตนเอง (Introspection) หมายถึง วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีต ที่ผ่านมา แล้วบอกความรู้สึกออกมา โดยการอธิบายถึงสาเหตุและผลของการกระทำในเรื่องต่าง ๆ เช่น ต้องการทราบว่าทำไมเด็กนักเรียนคนหนึ่งจึงชอบพูดปดเสมอ ๆ ก็ให้เล่าเหตุหรือเหตุการณ์ในอดีต ที่เป็นสาเหตุให้มีพฤติกรรมเช่นนั้นก็จะทำให้ทราบที่มาของพฤติกรรมและได้แนวทางในการที่จะช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้
    การตรวจสอบตนเองจะได้รับข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและเป็นประโยชน์ เพราะผู้รายงานที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง ๆ แต่หากผู้รายงานจดจำเหตุการณ์ได้แม่นยำ และมีความจริงใจในการรายงานอย่างซื่อสัตย์ไม่ปิดบังและบิดเบือนความจริง แต่หากผู้รายงานจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่ได้หรือไม่ต้องการรายงานข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบก็จะทำให้การตีความหมายของเรื่องราวต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ผิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
    2. การสังเกต (Observation) หมายถึง การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว การสังเกตแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
        2.1 การสังเกตอย่างมีแบบแผน ( Formal Observation ) หมายถึง การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า มีการวางแผน มีกำหนดเวลา สถานการณ์ สถานที่ พฤติกรรมและบุคคลที่จะสังเกต ไว้เรียบร้อยเมื่อถึงเวลาที่นักจิตวิทยาวางแผน ก็จะเริ่มทำการสังเกตพฤติกรรมตามที่กำหนดและผู้สังเกตพฤติกรรมจะจดพฤติกรรมทุกอย่างในช่วงเวลานั้นอย่างตรงไปตรงมา
    2.2 การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน ( Informal Observation ) หมายถึง การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนล่วงหน้า แต่สังเกตตามความสะดวกของผู้สังเกตคือจะสังเกตช่วงเวลาใดก็ได้แล้วทำการจดบันทึกพฤติกรรมที่ตนเห็นอย่างตรงไปตรงมา
    การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลละเอียด ชัดเจนและตรงไปตรงมา เช่น การสังเกต อารมณ์ ความรู้สึก ของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้เห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น ๆ แต่การสังเกตที่ดีมีคุณภาพมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ผู้สังเกตจะต้องมีใจเป็นกลางไม่อคติหรือลำเอียงอย่างหนึ่งอย่างใด และสังเกตได้ทั่วถึง ครอบคลุม สังเกตหลาย ๆ สถานการณ์หลาย ๆ หรือหลายๆ พฤติกรรม และใช้เวลาในการสังเกต ตลอดจนการจดบันทึกการสังเกตอย่างตรงไปตรงมาและแยกการบันทึกพฤติกรรมจากการตีความไม่ปะปนกัน ก็จะทำให้การสังเกตได้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย
    3. การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี (Case Study) หมายถึง การศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณาตีความเพื่อให้
- 7 -
เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ ทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไข ปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ที่สำคัญของบุคคลแต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณาตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ ทั้งนี้ เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไข ปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
    4. การสัมภาษณ์ (Interview) หมายถึง การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย เช่น การสัมภาษณ์เพื่อความคุ้นเคย สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ตลอดจนสัมภาษณ์เพื่อการแนะแนวและการให้คำปรึกษา เป็นต้น แต่ทั้งการสัมภาษณ์ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
    การสัมภาษณ์ที่ดี จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า วางแผน กำหนดสถานที่ เวลาและเตรียมหัวข้อหรือคำถามในการสัมภาษณ์ และนอกจากนั้นในขณะสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ควรจะใช้เทคนิคอื่น ๆ ประกอบด้วยก็ยิ่งจะได้ผลดี เช่น การสังเกต การฟัง การใช้คำถาม การพูด การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์ก็จะช่วยให้การสัมภาษณ์ได้ดำเนินไปด้วยดี
    5. การทดสอบ (Testing) หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะของพฤติกรรมใด พฤติกรรมหนึ่ง หรือหลาย ๆ พฤติกรรม โดยให้ผู้รับการทดสอบเป็นผู้ตอบสนองต่อแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบภาษาและแบบปฏิบัติการหรือลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นตามจุดมุ่งหมายที่ผู้ทดสอบวางไว้แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการทดสอบหาข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบทดสอบความสนใจ เป็นต้น
    การทดสอบก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อผลของข้อมูลที่ได้รับ      ซึ่งแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน ตลอดจนการแปรผลได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
    6. การทดสอบ (Experiment) หมายถึง วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ มีขั้นตอนและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้ ตั้งปัญหา ตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล การทดสอบสมมุติฐาน การแปลความหมายและรายงานผล ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมต่อไป การทดลองจึงเป็นการจัดสภาพการณ์ขึ้นมาเพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มหรือสถานการณ์ คือ
    1. กลุ่มทดลอง (Experiment Group) คือ กลุ่มที่ได้รับการจัดสภาพการณ์ทดลองเพื่อศึกษาผลที่ปรากฏจากสภาพนั้นเช่นการสอนด้วยเทคนิคระดมพลังสมอง จะทำให้กลุ่มเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือไม่
    2. กลุ่มควบคุม (Control Group) คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดสภาพการณ์ใด ๆ ทุกอย่างถูกควบคุมให้คงภาพเดิม ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง สิ่งที่ผู้ทดลองต้องการศึกษาเรียกว่า ตัวแปร ซึ่งมีตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variable) และตัวแปรตาม ( Dependent Variable )


- 8 -
เจตคติ (Attitude)
ความหมายของเจตคติ
    เจตคติ หมายถึงอะไร ขัตติยา กรรณสูต (2516:2) ให้ความหมายไว้ คือ ความรู้สึกที่คนเรามีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือหลายสิ่งในลักษณะที่เป็นอัตวิสัย (Subjective) อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นหรือการแสดงออกที่เรียกว่า พฤติกรรม
    สุชา จันทร์เอม และ สุรางค์ จันทร์เอม (2520:104) ให้ความหมายเจตคติ คือความรู้สึก หรือท่าทีของบุคคลที่มีต่อบุคคล วัตถุสิ่งของ หรือสถานการณ์ต่างๆ ความรู้สึก หรือท่าทีจะเป็นไปในทำนองที่พึงพอใจ หรือไม่พอใจ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้
    สงวนศรี วิรัชชัย (2527:61) ให้ความหมายเจตคติ คือสภาพความคิด ความเข้าใจและความรู้สึกเชิงประเมินที่มีต่อสิ่งต่างๆ(วัตถุ สถานการณ์ ความคิด ผู้คน ฯลฯ) ซึ่งทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งนั้น ในลักษณะเฉพาะตัวตามทิศทางของทัศนคติที่มีอยู่
    ชม ภูมิภาค (2516:64) ให้ความหมายเจตคติ คือวิถีทางที่บุคคลเกิดความรู้สึกต่อบางสิ่งบางอย่าง คำจำกัดความเช่นนี้มิใช่คำจำกัดความเชิงวิชาการมากนักแต่หากเราจะพิจารณาโดยละเอียดแล้วเราก็พอจะมองเห็นความหมายของมันลึกซึ้งชัดเจนพอดู เมื่อพูดว่าคือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นก็หมายความว่าเจตคตินั้นมีวัตถุ วัตถุที่เจคติจะมุ่งตรงต่อนั้นจะเป็นอะไรก็ได้อาจจะเป็นบุคคล สิ่งของ สถานการณ์ นโยบายหรืออื่น ๆ อาจจะเป็นได้ทั้งนามธรรมและรูปธรรม ดังนั้น วัตถุแห่งเจตคตินั้นอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่คนรับรู้หรือคิดถึงความรู้สึกเช่นนี้อาจจะเป็นในด้านการจูงใจหรืออารมณ์และเช่นเดียวกันแรงจูงใจแบบอื่นๆคือดูได้จากพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น เจคติต่อศาสนาหากเป็นเจตคติที่ดีเราจะเกิดความเคารพในวัดเราจะเกิดความรู้สึกว่าศาสนาหรือวัดนั้นจะเป็นสิ่งจรรโลงความสงบสุข เรายินดีบริจาคทำบุญร่วมกับวัดเราจะพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความพร้อมที่จะถูกกระตุ้นด้วยวัตถุ การกระทำต่างๆของคนนั้นมักถูกกำหนดด้วยเจตคติที่จะตัดสินใจว่าจะบริจาคเงินแก่วัดสักเท่าใดนั้นย่อมมีปัจจัยต่างๆเข้าเกี่ยวข้อง เช่น ชอบสมภาร รายได้ตนเองดีขึ้น เห็นความสำคัญของวัด เห็นว่าสิ่งที่จะต้องบูรณะมาก
“เจตคติ” คือ สภาพความรู้สึกทางด้านจิตใจที่เกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของบุคคลอันเป็นผลทำให้เกิดมีท่าทีหรือมีความคิด เห็นรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะที่ชอบหรือไม่ชอบ เห็นหรือไม่เห็นด้วย เจตคติมี ๒ ประเภทคือ เจตคติทั่วไป เจตคติเฉพาะอย่าง
    COLLINS (1970:68) ให้ความหมายเจตคติ คือการที่บุคคลตัดสินในสิ่งต่างๆว่าดี –ไม่ดี เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย ยอมรับได้-ยอมรับไม่ได้
    ROKEACH (1970:10) ให้ความหมายเจตคติ คือการผสมผสานหรือจัดระเบียบของความเชื่อที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือสถานการณ์หนึ่งสถานการณ์ใด    ผลรวมของความเชื่อนี้จะเป็นตัวกำหนดแนวทางของบุคคลในการที่จะมีปฏิกริยาตอบสนองในลักษณะที่ชอบหรือไม่ชอบ
    BELKIN และ HKYDELL (1979:13) ให้ความหมายเจตคติ คือ แนวโน้มที่บุคคลจะตอบสนอง ในทางที่เป็นความพอใจ ไม่พอใจ ต่อผู้คน เหตุการณ์ และสิ่งต่างๆอย่างสม่ำเสมอและคงที่
- 9 -
    ดังนั้นอาจสรุปความหมายของเจตคติ คือ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด ๆ ซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในลักษณะชอบ ไม่ชอบ อาจเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย พอใจ ไม่พอใจ ต่อสิ่งใด ๆ ในลักษณะเฉพาะตัวตามทิศทางของทัศนคติที่มีอยู่และทำให้จะเป็นตัวกำหนดแนวทางของบุคคลในการที่จะมีปฏิกริยาตอบสนอง
องค์ประกอบของเจตคติ
    องค์ประกอบของเจตคติที่สำคัญ 3 ประการ คือ
    1. การรู้ (COGNITION) ประกอบด้วยความเชื่อของบุคคลที่มีต่อเป้าหมาย เจตคติ เช่น ทัศนคติต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ สิ่งสำคัญขององค์ประกอบนี้ ก็คือ จะประกอบด้วยความเชื่อที่ได้ประเมินค่าแล้วว่าน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือ ดีหรือไม่ดี และยังรวมไปถึงความเชื่อในใจว่าควรจะมีปฏิกริยาตอบโต้อย่างไรต่อเป้าหมายทัศนคติจึงจะเหมาะสม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^