การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาฯ:น.ส.สุนิต เลื่ยมยองใย
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ การทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การ ทดสอบที (t-test) (Dependent Samples t - test) และ (One Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ การอนุมาน การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น การตีความ การนิรนัย การประเมินข้อโต้แย้ง 2. สภาพทั่วไป และความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาส่งเสริมการคิดอย่าง มีวิจารณญาณ คือ ครูส่วนใหญ่มีความพยายามจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิด อย่าง มีวิจารณญาณให้กับนักเรียน แต่นักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 องค์ประกอบด้วย 1) หลักการ แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมทฤษฎี สติปัญญาตามแนวคิดด้านกระบวนการประมวลข้อมูลทฤษฎีการคิดวิจารณญาณ 2) วัตถุประสงค์ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ 2 เผชิญปัญหา ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 4 จัดระเบียบความรู้ ขั้นที่ 5 สรุป ขั้นที่ 6 การ ประเมิน 4) ระบบสังคม ได้แก่ บทบาทครู และนักเรียน 5) หลักการ ผลการประเมินโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิด อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. ผลการประเมินการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี วิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เฉลี่ยแล้ว มีระดับการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด