รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมอญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยใช้ CIPP Model
ชื่อผู้ศึกษา นายสุวิทย์ สอนชัยภูมิ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนบ้านมอญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
บทคัดย่อ
¬ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน บ้านมอญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล CIPP Model ของ Daneiel L.Stufflebeam ที่มุ่งประเมินใน 4 ด้านคือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โรงเรียนบ้านมอญ จำนวนทั้งสิ้น 95 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมอญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลผลิต รองลงมา คือ ด้านบริบท ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอันดับที่สาม คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านกระบวนการ ผลการประเมินรายด้านปรากฏดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและชุมชน มีการศึกษาความต้องการที่จำเป็นก่อนดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมโครงการ บุคลากร ที่ร่วมดำเนินโครงการ มีความรู้และเข้าใจในการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ชุมชนเข้ามาร่วมโครงการโดยการเข้าร่วมประชุมดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอตามที่โรงเรียนกำหนด
3. ด้านกระบวนการ พบว่าผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีความเหมาะสม มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติกิจกรรมและตามปฏิทินปฏิบัติงาน มีการประชุม ชี้แจง นโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการก่อนดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม และกำกับติดตามการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4. ด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือตรงตามเป้าหมาย โรงเรียนมีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้าน นักเรียนและครูมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทำให้นักเรียน มีความสุขเมื่อได้มาโรงเรียน นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่ยุงเกี่ยวกับสิ่งเสพติด มีภูมิคุ้มกันที่ดี