เผยเเพร่โครงการ
เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ
โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางพรพรรณ พิรุณ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดช่องเขา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขาเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความพร้อมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ความเหมาะสม การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน ติดตามกำกับ และประเมินผลนำมาปรับปรุงและพัฒนา 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 4.1) คุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563
4.2) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา
ปีการศึกษา 2563 4.3) ทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรครูและบุคลากร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ผ่านเกณฑ์การคัดกรองเป็นนักเรียนยากจนพิเศษ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คนกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ ผู้
รายงานดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.81-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563 ด้านสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( μ = 4.49, σ = 0.51) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( X ̅ = 4.42, S.D = 0.50) อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (μ = 4.40, σ =0.49) คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพร้อมด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด(μ = 4.52, σ = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่
ด้านการบริหารจัดการและด้านความพร้อมของภาคีเครือข่าย (μ = 4.40, σ = 0.50) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความพร้อมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (μ = 4.33, σ = 0.48)
อยู่ในระดับมาก โดยทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563
ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีการปฏิบัติและคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า
กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.55, σ= 0.51) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (X ̅ = 4.53, S.D. = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครู
และผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X ̅ = 4.52, S.D. = 0.50,0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกกลุ่ม
ได้คะแนนเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563
ด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 สรุปผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมินพบว่าทั้ง 5 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า
กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅= 4.54, S.D.= 0.11) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน (X ̅ = 4.52, S.D. = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือกลุ่มเครือข่ายชุม ( X ̅ = 4.46, S.D. = 0.49) อยู่ในระดับมาก โดยทุกกลุ่มที่ประเมิน
ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ของครูในการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก
และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่ม
ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.53, S.D= 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง (X ̅ = 4.52, S.D= 0.49) โดยทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา
ปีการศึกษา 2563จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
(μ = 4.58, σ= 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง (X ̅ = 4.54, S.D= 0.49)
โดยทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.4 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนยากจนพิเศษ โรงเรียนวัดช่องเขา ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่ม
ที่ประเมิน พบว่ากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.58, σ = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( X ̅ = 4.54,S.D.= 0.48 ) อยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ( X ̅ = 4.54, S.D. = 0.51 ) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่ม ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายชุมชน (X ̅ = 4.49, S.D. = 0.49 ) อยู่ในระดับมาก โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรให้ความสำคัญในการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ
เอกชน และชุมชน มามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
1.2 โรงเรียนควรให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียน ครู
ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายชุมชน เครือข่ายชุมชน ถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพราะจะส่งผลให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถดูแลตนเองและแบ่งเบาภาระครอบครัวได้
1.3 การดำเนินกิจกรรมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี และควรประเมินผลโดยใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อให้นักเรียนมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ตลอดจนแนวโน้มในการต่อยอดเพื่อเป็นอาชีพในโอกาสต่อไป
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรขยายผลกิจกรรมการพัฒนาทักษะอาชีพอิสระตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปยังพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อสร้างรายได้และลดรายจ่ายภายในครอบครัว
2.2 ควรศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ส่งผลต่อทักษะอาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน เช่น ด้านการตลาด การบรรจุxxxบห่อที่สวยงามและมีมาตรฐานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
2.3 ควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายในรูปแบบต่างๆ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ shopee lazada เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้ามากขึ้นและสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากขึ้น