LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

เผยเเพร่งานวิจัย

usericon

ชื่องานวิจัย        รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน
            ของโรงเรียนวัดช่องเขา
ผู้วิจัย         นางพรพรรณ พิรุณ
ตำแหน่ง         ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดช่องเขา
            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีที่วิจัย         ปีการศึกษา 2561 – 2563

บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทานของโรงเรียนวัดช่องเขา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ประกอบด้วย 3.1) คุณภาพของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา หลังการพัฒนา 3.2) คุณภาพสถานศึกษาตามขอบเขตการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน หลังการพัฒนา 3.3) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา หลังการพัฒนา 3.4) ผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อโรงเรียนวัดช่องเขา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรครูและบุคลากร ปีการศึกษา 2561 จำนวน17 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 76 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 63 คนและ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 64 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามขอบเขตการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา จำนวน 1 ฉบับ แบบบันทึกผลกระทบเชิงบวก ที่ปรากฏต่อโรงเรียนวัดช่องเขา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียน
วัดช่องเขา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การสื่อสารสร้างการรับรู้สู่เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรอย่างหลากหลาย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การดำเนินงานผ่านการมีส่วนร่วม การนิเทศ ติดตาม เชิงบวก และการสร้างขวัญกำลังใจในองค์กร ซึ่งทั้ง 6 องค์ประกอบมีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, σ=0.50) สอดคล้องตามสมมติฐาน
    2. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียน
วัดช่องเขา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน หลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ประกอบด้วย องค์ประกอบหลักของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่
การสื่อสารสร้างการรับรู้สู่เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรอย่างหลากหลาย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การดำเนินงานผ่านการมีส่วนร่วม การนิเทศ ติดตาม เชิงบวก และการสร้างขวัญกำลังใจ
ในองค์กร กระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียน
วัดช่องเขา มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ การประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ จากการประเมินความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์ ของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80,σ= 0.45) สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขาได้
สอดคล้องตามสมมติฐาน
    3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ประกอบด้วย
        3.1 คุณภาพของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
        3.2 คุณภาพสถานศึกษาตามขอบเขตการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2561 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.09 , σ = 0.57) ปีการศึกษา 2562 โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.38 , σ = 0.53) และปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 4.61 , σ = 0.52) สอดคล้องตามสมมติฐาน
        3.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียน
วัดช่องเขา พบว่า ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่ม
ที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
        3.4 ผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อโรงเรียนวัดช่องเขา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ได้รับเกียรติบัตรรางวัลจากองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษา ทั้งระดับชาติ ระดับภาค/จังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา/อำเภอ รวมทั้งสิ้นจำนวน 194 รายการ เมื่อพิจารณาแยกตามระดับ พบว่า ได้รับเกียรติบัตรรางวัล ระดับชาติ จำนวน 71 รายการ ระดับภาค/จังหวัด/ จำนวน 5 รายการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา/อำเภอ จำนวน 118 รายการ อีกทั้งโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ แหล่งศึกษา
ดูงานของหน่วยงานทางการศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน สอดคล้องตามสมมติฐาน




    ข้อเสนอแนะ
        จากข้อค้นพบที่ได้จากวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
        1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
        1.1 การนำรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน
ของโรงเรียนวัดช่องเขา ไปใช้ ผู้บริหารควรศึกษารายละเอียดของรูปแบบฯ จากคู่มือการใช้รูปแบบฯเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดในทุกประเด็นเนื้อหาก่อนนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
        1.2 รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน
ของโรงเรียนวัดช่องเขา ที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ได้ทำการทดลองใช้ถึง 3 ปีการศึกษา ได้มีการปรับปรุงรูปแบบและกิจกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ คุณภาพนักเรียน การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ การบริหารและการจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และความดีเด่นของสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาของตนเองให้มีคุณภาพมุ่งสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน
อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยประยุกต์การพัฒนาตามรูปแบบฯให้เหมาะสมกับบริบท ของสถานศึกษา ความพร้อมของบุคลากร สร้างความตระหนักในการร่วมมือกันให้เกิดกับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
1.3 รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน
ของโรงเรียนวัดช่องเขา ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดอื่นให้มีคุณภาพได้
        2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
            2.1 ควรมีการทำวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาสู่
โรงเรียนรางวัลพระราชทานในแต่ละด้าน เพื่อนำผลมาวิเคราะห์สู่การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียน
            2.2 ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของการดำเนินการ
ตามรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทานของโรงเรียนวัดช่องเขา

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^