การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาสังคมศึกษาฯ
ผู้ศึกษา นางสาวณัฏฐ์ภรณ์ มิ่งเมืองนล
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ ในรายวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยเกม (Game Based Learning) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในวิชา สังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยเกม (Game Based Learning) เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือ เรื่องกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย หน่วยเศรษฐกิจ 3 หน่วยใหญ่ ได้แก่ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ และหน่วยรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะผู้บริโภค ผู้ผลิต และภาครัฐตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning), แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน(Game Based Learning)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาฯ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ย (X = 13.88, S.D. 1.83) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ (X = 8.47, S.D. 1.96) ซึ่งพบว่าหลังจากที่นักเรียนได้ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาฯ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบเกมเป็นฐาน (Game Based Learning) ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากขึ้น เนื่องจากการได้รับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงตามลำดับ
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน(Game Based Learning) อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ย เท่ากับ 0.50