บทคัดย่อ
เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ
ผู้วิจัย : นายธนิต แท่นรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพรุพ้อ
ปีการศึกษา : 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ ได้แก่ 4.1) ประเมินคุณลักษณะนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียน 4.2) ประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูจำนวน 10 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนจำนวน 51 คน และผู้ปกครอง จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมิน เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ แบบสอบถามทุกฉบับได้ผ่านการตรวจสอบทุกผู้เชี่ยวชาญ และได้นำไปทดลองใช้และมีค่าความเชื่อมั่น อยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ หลังนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน วัดพรุพ้อ ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.47, S.D. = 0.302) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.54, S.D. = 0.307) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.37, S.D. = 0.285)
2. ผลการประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน วัดพรุพ้อ ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.40, S.D. = 0.27) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของครู พบว่า อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.41, S.D. = 0.307) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.38, S.D. = 0.239)
3. ผลการประเมินโครงการสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ
ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.46, S.D. = 0.261) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.38, S.D. = 0.126)
4. ผลการประเมินโครงการสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ
ด้านผลผลิต คุณลักษณะนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.49, S.D. = 0.422)
5. ผลการประเมินโครงการสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดพรุพ้อ
ด้านผลผลิต ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.47, S.D. = 0.396) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.52, S.D. = 0.429) จำแนกตามความคิดเห็นของครู
พบว่า อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.22, S.D. = 0.333) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.47, S.D. = 0.360)
ข้อเสนอแนะ
1. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินงานที่จะให้ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากจะนำนโยบายทุกระดับที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนแล้ว ควรให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กับการดำเนินงานโดยเฉพาะชุมชน และผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในการดำเนินงานต่อไป
2. โรงเรียนควรประสานและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อการเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามบทบาทหน้าที่ในการเสริมสร้างและพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนให้เป็นไปอย่างราบรื่น ต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน
3. ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ ควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคลหน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมเพราะจะทำให้มีกำลังใจในการทำงานและส่งผลต่อความสำเร็จของงานในครั้งต่อๆไป
4. ควรศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
5. ควรศึกษาการเปรียบเทียบกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างยั่งยืน
6. ควรมีการศึกษาความคงทนและการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตหลังสิ้นสุดโครงการในปีการศึกษาต่อไป
7. ควรนำผลกาประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางพัฒนา เพราะจะทำให้รู้ทิศทางของการพัฒนาในแต่ละด้านเกิดความคล่องตัวในการประสานงานกับทุกๆ ฝ่ายและจำทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
8. ควรนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อวางแผนการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) ของสถานศึกษาต่อไป