การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ของโรงเรียนโคกกลางวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
ชื่อผู้รายงาน นางสาวขนิษฐา ยี่สารพัฒน์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนโคกกลางวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทของบริหาร (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และด้านผลผลิต Product) และด้านผลกระทบ (Impact)
ความพึงพอใจของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ในปีการศึกษา 2562 รวมจำนวนทั้งสิ้น 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ (Percentage) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุดสามลำดับแรก คือ วัตถุประสงค์สอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน รองลงมาคือผู้บริหารมีความเข้าใจและส่งเสริมในหลักการและรูปแบบกิจกรรมที่ดำเนินงานตามโครงการ และการจัดบรรยากาศในการดำเนินงานเหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินโครงการส่วนข้อที่ค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ การประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามลำดับแรก คือ มีการกำหนดนโยบายและการวางแผนจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม รองลงมา คือ การมอบหมายงานมีความเหมาะสมกับบุคคลากร และจัดให้นำผลการทบทวนหลังการทำกิจกรรม (After Action Review : AAR) และผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการเวลาเรียนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพสูงขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจตามหลักเกณฑ์โครงการสถานศึกษา สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขและให้ความร่วมมือกับโรงเรียน
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย เป็นดังนี้ การบริหารจัดการ รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากันสองด้าน คือ ด้านการป้องกันและด้านการรักษา ด้านการค้นหา และด้านการเฝ้าระวัง
4. ด้านผลผลิต (Product) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดสามลำดับแรก เป็นดังนี้ กิจกรรมตามโครงการมีส่วนเอื้อและส่งเสริมการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียน เช่น กิจกรรมเยี่ยมบ้าน และกิจกรรมสภานักเรียน รองลงมาคือ โรงเรียนได้เครือข่ายความร่วมมือกับสถานีตำรวจ ในเรื่องการประสานงาน ครู D.A.R.E และโรงเรียนมีผลงาน รางวัล ประกาศเกียรติคุณจากการดำเนินงานตามโครงการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ
การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานตามโครงการโดยการแสดงนิทรรศการตามโอกาส
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดสามลำดับแรก เป็นดังนี้ นักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ รองลงมา คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการและผู้ปกครองพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนในกิจกรรมตามโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมของบุตรหลานที่บ้านแก่โรงเรียน
4.2 ด้านความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดสามลำดับแรกเป็นดังนี้ ได้ทราบเนื้อหาและพิษภัยยาเสพติด รองลงมาคือ ได้นำความรู้ที่ได้รับจากครูครูแดร์ (D.A.R.E) ไปใช้ในชีวิตจริง และได้ฝึกการคิดของตนเองและร่วมกิจกรรมแนะแนว ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามโครงการ