แบบนำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
(Best Practice)
ชื่อผลงาน การประดิษฐ์ของเล่นทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ผู้นำเสนอ นางวยุรีย์ โชคบรรดาลสุข
โรงเรียนวัดจินดาราม
อำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2
ความเป็นมา
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นลักษณะความคิดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้น
กับทุกคนในชาติเพราะบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้น สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆอันก่อให้เกิดผลผลิต และประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลในด้านต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์ยังก่อให้เกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ การคมนาคม เพราะบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้ค้นคว้าริเริ่มงานใหม่ ๆ รวมทั้งประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอยู่เสมอ แสดงให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสมควรที่จะพัฒนาตั้งแต่ระดับปฐมวัย เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีจินตนาการ การแสดงออกอย่างหลากหลาย และเด็กในวัยนี้รู้จักค้นคว้าหาความรู้ตามวัย และโดยเฉพาะของเล่นที่เด็กชอบจะต้องทำให้สำเร็จ และเด็กได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาได้ ดังนั้น การจัดกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย ได้ใช้ทักษะการสังเกต การคิด การคำนวณ การเปรียบเทียบ การสนทนา การสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ และแสดงออกถึงความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็นการรู้จัดสำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่แวดล้อมรอบตัวเด็กผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ๆ
จากเหตุผลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงวัยสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านและช่วยปลูกฝังให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ คาดคะเน ผู้จัดทำมีความสนใจศึกษาและได้เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้ จึงได้จัดกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เน้นคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบของเล่นทางคณิตศาสตร์
2. เพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยจิตวิคณิตศาสตร์ให้แก่เด็ก
3. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์พื้นฐาน