การประเมินโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียน โดยใช้รูปแบบประเมิน CIPP
นางสาวเอวิกา เทพสวัสดิ์
พ.ศ. 2564
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก โดยใช้รูปแบบประเมิน CIPP Model ได้แก่ การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ เป็นกรอบในการประเมิน ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการพัฒนา
การอ่าน การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก ครั้งนี้ จำนวน 271 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ วิธีของคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน (Kuder – Richardson Method) (KR-20)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดพลงช้างเผือกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.40)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดพลงช้างเผือกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.46)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดพลงช้างเผือกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.30)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพบว่า
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการจากผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดพลงช้างเผือกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.45)
4.2 ผลการพัฒนาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีผลการประเมิน ร้อยละ 97.14 และผลการพัฒนาการเขียนมีผลการประเมิน ร้อยละ 94.29