รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียน กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัย ในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้กำกับลูกเสือที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สอนรายวิชาลูกเสือสำรอง สามัญ และ สามัญรุ่นใหญ่ เครือข่ายผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์ รวมจำนวน 46 คน กรณีศึกษา การบริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ (Interview) จำนวน 3 คน 2) สร้างรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ตรวจสอบร่างรูปแบบและคู่มือการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัย ในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseruship) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบและคู่มือการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 กับผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง และนักเรียน ปีการศึกษา 2563 รวมจำนวน 514 คน 4) ประเมินรูปแบบและคู่มือการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการทำประชาวิจารณ์ (Public hearing) ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้กำกับลูกเสือที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สอนรายวิชาลูกเสือสำรอง สามัญ และสามัญรุ่นใหญ่ประจำปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน รวมจำนวน 41 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียน กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 คือ ผู้เรียนไม่รักษาระเบียบวินัยที่โรงเรียนกำหนดขึ้น การบริหารกิจกรรมลูกเสือ ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขาดการบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้าน การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามและประเมินผล การปรับปรุงและพัฒนา แนวทางในการบริหารกิจกรรมลูกเสือประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงานลูกเสือ 2) ด้านผู้กำกับลูกเสือ 3) ด้านหลักสูตรและกิจกรรมลูกเสือ 4) ด้านงบประมาณ 5) ด้านการติดตามผลการดําเนินงานลูกเสือ กระบวนการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียนระบบ PDCA ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการตามแผน (Doing) 3) การติดตามและประเมินผล (Checking) 4) การปรับปรุงและพัฒนา (Acting)
2. รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 มี 3 ประเด็นได้แก่ 1) หลักการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน 2) ขอบข่ายการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานลูกเสือ ด้านผู้กํากับลูกเสือ ด้านหลักสูตรและกิจกรรมลูกเสือ ด้านงบประมาณ ด้านการติดตามผลการดําเนินงานลูกเสือ 3) กระบวนการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียนระบบ OPDCAL ประกอบด้วย การจัดการองค์กร (Organizing) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการตามแผน (Doing) การติดตามและประเมินผล (Checking) การปรับปรุงและพัฒนา (Acting) และ การเป็นผู้นำ (Leading)
3. ความพึงพอใจต่อรูปแบบและคู่มือการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินพฤติกรรมด้านวินัย ผู้เรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 97.39
4. การประเมินรูปแบบและคู่มือการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 มีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก