LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง        การนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
ผู้วิจัย        นายอรรถพล ชุมพู
หน่วยงาน    โรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้และความสามารถด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนขุนยวม ก่อนและหลังได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัย
2) ประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม ที่ได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัย 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยของครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
    เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 4) แบบประเมินความพึงพอใจ
    ผลการศึกษาพบว่า
        1. ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของครูก่อนได้รับการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ย 9.36 หลังจากได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.03 เมื่อวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ได้เท่ากับ 75.92 อยู่ในระดับมาก แสดงว่าครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มที่เหลืออยู่ สามารถทำเพิ่มขึ้นได้เท่ากับ 75.92 คะแนน จาก 100 คะแนน
        2. การประเมินตนเองด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม จำนวน 30 คน ซึ่งคะแนนเต็ม 100 คะแนน พบว่า ก่อนได้รับการนิเทศครูประเมินตนเองด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู มีคะแนนเฉลี่ย 48.03 หลังจากได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยครูมีความสามารถด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 81.76 เมื่อวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ได้เท่ากับ 64.90 อยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่าครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มที่เหลืออยู่ สามารถทำเพิ่มขึ้นได้เท่ากับ 64.90 คะแนน จาก 100 คะแนน
    3. การประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม ที่ได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยจำนวน 30 คน พบว่า หลังจากครูได้รับการนิเทศติดตามด้วยกระบวนการวิจัยครูสามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูได้ทุกคนเมื่อประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้พบว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูมีคุณภาพระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านกระบวนการพัฒนานวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.31 มีคุณภาพระดับดี โดยกระบวนการพัฒนานวัตกรรมครบทุกขั้นตอนมีคะแนนสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.40 คุณภาพระดับดีมาก รองลงมาคือด้านคุณค่านวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 คุณภาพระดับดี ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกัน มีค่าเฉลี่ย 2.43 ระดับดีมาก ส่วนด้านความเป็นนวัตกรรม
มีคุณภาพน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.16 อยู่ในระดับดี
    4. ความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยของครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ การนิเทศช่วยให้ครูพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือ การนิเทศช่วยให้ครูสามารถหานวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหา และการนิเทศช่วยให้ครูแก้ปัญหาได้ตรงตามสภาพ ส่วนข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การนิเทศช่วยให้ครูได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^