LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสองพิทยาคม

usericon

เรื่อง         การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสองพิทยาคม จังหวัดแพร่
ผู้รายงาน     นางนาถตยา สุธรรม
ตำแหน่ง      รองผู้อำนวยการโรงเรียนสองพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่
ปีที่ประเมิน     ปีการศึกษา 2564

บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสองพิทยาคม จังหวัดแพร่ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1. ความสอดคล้องของบริบทสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2. ความพร้อมของปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงาน (Input Evaluation) 3. ความเหมาะสมในการดำเนินการด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4. ผลผลิตของโครงการ(Product Evaluation) โดยใช้การประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนสองพิทยาคม ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสองพิทยาคมที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน นักเรียนโรงเรียนสองพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 272 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสองพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ จำนวน 12 ฉบับ ตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย
    ผลการประเมินตามโครงการสรุปได้ดังนี้
    1. การประเมินบริบทสภาวะแวดล้อม ในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการประเมิน พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชนและท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก (=4.43, =0.50) รองลงมา คือ การกำหนดหลักการและเหตุผลของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมาก (=4.39, =0.60) และรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญให้การสนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก (=4.35, =0.64) ตามลำดับ
    2. การประเมินปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการประเมิน พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการสร้าง พัฒนาหรือนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.51, =0.61) รองลงมา คือ ครูมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีในบทบาทหน้าที่การดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมาก (=4.42, =0.59) และรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ
ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน อยู่ในระดับมาก (=4.20, =0.70) ตามลำดับ
    3.    การประเมินกระบวนการของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนดำเนินงาน พบว่า ขั้นเตรียมการวางแผนงาน (Plan) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=4.48, =0.52) ขั้นการดำเนินงาน (Do) จำแนกตามขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.73, =0.48) ขั้นการคัดกรองนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.63, =0.55) ขั้นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.68, =0.49) ขั้นการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.56, =0.53) ขั้นการส่งต่อนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.63, =0.51) และ ขั้นการตรวจสอบ ทบทวนและปรับปรุง (Check and Act) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.56, =0.55) ตามลำดับ
     4.    การประเมินผลผลิตของโครงการ
    ผลการจัดกิจกรรมตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการประเมิน พบว่า โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสองพิทยาคม สามารถพัฒนา ป้องกัน แก้ไขปัญหาของนักเรียนแต่ละกลุ่มได้ดีขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.72, =0.62) รองลงมา คือ โรงเรียนมีสารสนเทศที่เพียงพอทำให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ตรงกับความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.64, =0.55) และรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูมีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี และปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเต็มความสามารถ อยู่ในระดับมาก (=4.38, =0.57) ตามลำดับ
    ความพึงพอใจของครู ผู้บริหารและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.56, =0.54) และ ความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.45, SD=0.66) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^