การพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้ทฤษฎีของตราบาสโซ (Trabasso)
โดยใช้ทฤษฎีของตราบาสโซ (Trabasso)
ภาริทธิ์ อมรรัตนปัญญา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารของคนไทย ภาษาไทยในฐานะที่เป็นวิชาพื้นฐานของการศึกษา ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการเรียนรู้วิชาการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชาติให้ดียิ่งขึ้น เพราะได้ศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างๆ และแหล่งเรียนรู้วิทยาการใหม่ ภาษาจึงมีความสำคัญและควรมีการปลูกฝังการเรียนรู้ตามทักษะการใช้ภาษาทั้งด้านการฟัง การพูด การเขียน การอ่านและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะด้านการอ่านถือได้ว่ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนโตและจนกระทั่งวัยชรา การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความหวังและมีความอยากรู้อยากเห็น อันเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคน การอ่านมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง คือ พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์และมีความอยากรู้อยากเห็น การที่จะพัฒนาประเทศเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งความรู้ต่างๆ ก็ได้มาจากการอ่านนั่นเอง
ทฤษฎีของตราบาสโซ (Trabasso) ได้กล่าวว่า การอ่านเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กัน 2 ประการ คือ ผู้อ่านและผู้รับสาร ต่อจากนั้นจะทำการเปรียบเทียบโดยอาศัยประสบการณ์เดิม ทฤษฎีนี้ได้เน้นว่าระดับการอ่านของผู้อ่านจะไม่คงที่ในขณะ ที่อ่านข้อความผู้อ่านจะควบคุมเพียงโครงสร้างผิวเผินจนกว่าสารที่รับรู้จะได้รับการเปรียบเทียบ เช่น เมื่อเด็กอ่านประโยค "ฉันเห็นลูกบอลสีแดง" เมื่ออ่านเสร็จแล้ว หากยังไม่เคยมีประสบการณ์ก่อนว่าสีแดงเป็นอย่างไร ก็จำเป็นต้องอาศัยผู้รู้แนะนำช่วยตัดสิน เมื่อเด็กพบสิ่งของที่มีสีแดงก็จะใช้ประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนพิจารณาตัดสินได้ ดังนั้นขั้นของการอ่านตามพื้นฐานทฤษฎีนี้จึงเป็น 3 ขั้น
1. การรับสาร โดยใช้สายตารับรู้
2. การใช้ประสบการณ์เดิม ความจริงและภาพ ทำการเปรียบเทียบกับสารที่ได้รับว่าแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิมหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่รู้จักผู้อ่านจะอ่านทบทวน ๒-๓ ครั้งจนกว่าจะตัดสินใจว่าอะไรคือคำตอบที่แท้จริง
3. คำตอบที่ได้รับจากการเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิม หรือโดยอาศัยความรู้จากแหล่งอื่นมาช่วยตัดสินนั้น ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ที่ได้จากการอ่าน
จากการที่ผู้ศึกษาได้รับผิดชอบสอนในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนขาดทักษะด้านการอ่านจับใจความสำคัญอยู่มาก อีกทั้งผู้ศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน จับใจความว่าเป็นทักษะด้านการอ่านที่ควรได้รับการฝึกฝน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนของทุกรายวิชา ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะใช้แบบฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ทฤษฎีของตราบาสโซ (Trabasso) เป็นแนวทางเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
2.2 เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ทฤษฎีของตราบาสโซ (Trabasso)
3. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียน 70 ผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทักษะการอ่าน (การอ่านแปลความ ตีความ ขยายความ) จากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนร้อยละ 70 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะด้านการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
4. ขอบเขตการวิจัย
4.1 กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 13 ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน
4.2 ตัวแปรที่ศึกษา (ตัวแปรต้น/ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรจัดกระทำ, ตัวแปรตาม ฯ)
ตัวแปรต้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ตัวแปรตาม ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ
4.3 เนื้อหาวิชา/รายวิชา
เรื่อง นิทานเวตาล
รายวิชา ภาษาไทย 2 รหัสวิชา ท 31102
5. วิธีดำเนินการ
5.1 เครื่องมือวิจัย
1) วิธีการหรือสื่อนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา/ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้
- แผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง / หัวข้อเรื่อง นิทานเวตาล
- สื่อการเรียนรู้/เทคนิคการสอน คือ แบบฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ทฤษฎีของตราบาสโซ (Trabasso)
2) เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ดังนี้ (เช่น แบบทดสอบ แบบวัด แบบประเมิน แบบสอบถาม ฯ)
- แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียนเรื่อง การอ่าน
- แบบสอบถามความพึงพอใจ
5.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้
1) ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการอ่าน
2) สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำแบบฝึกทักษะการอ่าน
3) ทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
6. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียน ระหว่างวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นเวลา 3 เดือน
รายการ ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565
พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
1. เขียนโครงร่างวิจัยในชั้นเรียน และเสนอขอทำวิจัย <--->
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง <------- ------->
3. สร้างเครื่องมือและหาคุณภาพ <------- ------->
4. นำวิธีการ/นวัตกรรมการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมการเรียนรู้ไปใช้ปฏิบัติการสอนในชั้นเรียน และเก็บรวบรวมข้อมูล <--- --------- ------------- ---->
5. วิเคราะห์ข้อมูลและเขียนรายงาน <--->
7. เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. (2544). ความสำคัญของการอ่าน. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://sites.google.
com/site/hongtongkatawong/khwam-sakhay-khxng-kdhmay
กระทรวงศึกษาธิการ. ดอกสร้อยสุภาษิต-เด็กเอ๋ยเด็กน้อย. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://aromklon.
com/index.php?topic=5129.0
จินตนา ใบกาซูยี. (2543). ความสำคัญและประโยชน์ของการอ่าน. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/hongtongkatawong/khwam-sakhay-khxng-kdhmay
ฉันท์ ขำวิไล. เพลงขอบใจ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://nd.nma6.go.th/wp-content/uploads/
ทัด เปรียญ. ดอกสร้อยสุภาษิต-นกกระจาบ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจากhttps://www.kroobannok.com/blog/21353
ทัด เปรียญ. บทอาขยาน-แมวเหมียว. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/blog/21353
ท่านพุทธทาสภิกขุ. เป็นมนุษย์หรือเป็นคน. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.mahidol.ac.th/
ประพนธ์ เรืองณรงค์. เกาะหนู เกาะแมว. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.thaischool1.in.th/
_files_school/83100520/workteacher/83100520_1_20200427-144236.pdf
ภาษิต จิตรภาษา. หัวล้าน 7 ชนิด. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.silpathai.net/
มหาอำมาตย์โท พระยาเมธาธิบดี. (2553). นิทานอีสป ราชสีห์กับหนู. กรุงเทพฯ : วิสดอม.
วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (2556). วิชาเหมือนสินค้า. กรุงเทพฯ : พ.ศ.พัฒนา.
สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). คนขี้เหนียวกับทองคำ, ข้อสอบการอ่าน ชุดที่ 1 โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://vajiravudh.ac.th/KM/Assessment-Document/2557/01_PISA_Seminar57/
PISA_Exam/Reading/reading.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). ความหายนะจากการปฏิบัติ, ข้อสอบการ อ่านชุดที่ 2 โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://vajiravudh.ac.th/KM/Assessment-Document/2557/01_PISA_Seminar57/
PISA_Exam/Reading/reading.pdf
สมร เจนจิจะ. (2555). กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน...ภาษาพาสุข. เชียงใหม่ : พิมพ์นานา
หลังมอ.
เสนีย์ วิลาวรรณ. ความหมายและความสำคัญของการเขียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
อรพินท์ บรรจง. (ม.ป.ป.). ภัยเงียบของพริกน้ำปลา. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.9bbank.com