การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัย เพ็ญวิภา สรรคชา
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูดินแดงวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ห้อง ม.5/1 (32 คน), ม.5/2 (36 คน), ม.5/3 (36 คน) ม.5/4 (36 คน) และ ม.5/5 (36 คน) รวมทั้งหมด 173 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนภูดินแดงวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เนื่องจากนักเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือมีกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน เครื่องมือวิจัยสำหรับการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมด 12 เล่ม เล่มละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมด 24 ชั่วโมง (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมด 12 แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ละ 2 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning จำนวน 60 ข้อ และ (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนภูดินแดงวิทยา ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่าที (t-test ชนิด Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมและคู่มือสำหรับครูการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.08/ 90.03 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 51.48, S.D = 2.33) ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 24.52, S.D = 2.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจหลังการเรียนวิชาสังคมศึกษา ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นแบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, S.D = 0.31
คำสำคัญ : การพัฒนา / ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ / เศรษฐกิจพอเพียง / การเรียนรู้โดยเน้นแบบ
Active Learning