รายงานประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือฯ
ชื่อผู้วิจัย ดร.สุทธิวัฒน์ มากมี
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองเสือ(เรืองวิทยานุxxxล)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดหนองเสือ (เรืองวิทยานุxxxล) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพบริบทของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะของหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ 2) ประเมินสภาพปัจจัยการดำเนินงานเกี่ยวกับความพร้อม/ความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ 3) ประเมินสภาพกระบวนการการดำเนินงานเกี่ยวกับความเหมาะสมของขั้นตอน กระบวนการ และกิจกรรมของโครงการ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพด้านผู้เรียน ด้านกระบวนดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และด้านบุคลากร และ 5) ประเมินผลกระทบของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดหนองเสือ (เรืองวิทยานุxxxล) ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 260 คน ประกอบด้วย 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดหนองเสือ(เรืองวิทยานุxxxล) ปีการศึกษา 2563 จำนวน 120 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 20 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดหนองเสือ (เรืองวิทยานุxxxล) ที่ได้สร้างขึ้นโดยอาศัยกรอบแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน รวมทั้งนิยาม ปฏิบัติการโดยใช้คำถาม 2 ประเภท คือคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าและคำถามปลายเปิด
จากข้อค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. สภาพบริบทของโครงการทั้งหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมของการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมมีความพร้อม/ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านบุคลากร รองลงมาเป็นด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ สารสนเทศ และด้านงบประมาณตามลำดับ กระบวนการการดำเนินงานในเรื่องของขั้นตอนการดำเนินงานโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความเหมาะสมมากที่สุดคือขั้นเตรียมการ
รองลงมาคือขั้นการดำเนินงาน และขั้นการประเมินผล สรุปผล และรายงาน กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวม มีความพร้อม/ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการคัดกรองนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และ 5) การส่งต่อนักเรียน มีความพร้อม/ความเหมาะสมตามลำดับ คุณภาพผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก โดยเฉพาะนักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม รองลงมาคือ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี ร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ และปรับตัว และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ ด้านผลกระทบ ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ โดยผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียน มีความภูมิใจ ให้ความร่วมมือ ในการเข้าร่วมกิจกรรม การรับการประเมิน และแสดงความยินดีกับความสำเร็จของโรงเรียน นักเรียน ครูและบุคลากร
2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนและหลังการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดหนองเสือ (เรืองวิทยานุxxxล) โดยภาพรวม และรายข้อทุกข้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีระดับความพึงพอใจหลังการดำเนินโครงการสูงขึ้นทุกด้าน