การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ด้วยกระบวนการสถานศึกษ
ยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข อย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดมีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการเมืองและความมั่นคง
ของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา การกำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักปฏิเสธ หลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงได้กำหนดนโยบายให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการ
เนื่องจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งทางด้านการสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งนอกจาก
จะส่งผลกระทบผู้คนในเชิงบวก ในเชิงลบก็มีปรากฏการณ์ เช่นกัน เป็นต้นว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการแข่งขันในรูปแบบต่างๆปัญหาครอบครัวที่เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด มีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม หรืออื่น ๆภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานักเรียน ให้เป็นไปตามความมุ่งหวังนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกคน โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ซึ่งมีครู อาจารย์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้เติบโตงดงามและสวยงาม และเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม
การพัฒนานักเรียน ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถและคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตที่เป็นสุข ตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาทุกแห่ง ต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เป็น คนเก่ง
คนดี มีความสุข นอกจากการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ต่างๆที่เกิดขึ้น จากปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกม การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง
การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ด้ายโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวคิดและหลักการของ “4 ประสาน 2 ค้ำ” ซึ่ง 4 ประสาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน และส่วนของ 2 ค้ำ เดิมเป็นผู้แทนชุมชน แต่พื้นที่เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จึงได้กำหนดใหม่ เพื่อให้บุคลากรสำคัญที่จะเข้ามาช่วยสถานศึกษา ในการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ได้แก่ ตำรวจและพระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน ทั้งนี้เพื่อช่วยสถานศึกษาในการดำเนินงานให้มีมาตรการป้องกันและการป้องปรามติดตามผู้จำหน่ายและผู้เสพและมาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาสีขาว ในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดและแหล่งอบายมุข รอบสถานศึกษา ดังนั้นเพื่อให้สถานศึกษามีระบบการป้องกันที่เข้มแข็งและยั่งยืนจึงให้มีการดำเนินงาน ให้มีการดำเนินงานตาม 6 หลัก ได้แก่ 1 หลักแห่งความจริง 2 หลักแห่งความมีใจกล้าพอ 3 หลักการยอมรับตนเอง 4 หลักไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่เห็นแก่ตัว 5 หลักการให้ความรักแก่ผู้อื่น 6 หลักการมีมนุษยสัมพันธ์ ทั้งนี้ต้องอยู่ในกฎหรือระเบียบข้อปฎิบัติที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ และกลยุทธ์ 2 ไม่คือ สถานศึกษาไม่ปกปิดข้อมูลนักเรียนที่มีพฤติกรรมติดยาเสพติดสถานศึกษา ไม่ไล่นักเรียนที่ติดยาเสพติดออก เป็นแนวทางการดำเนินงาน โดยถือวาเป็นผู้ป่วยต้องนำไปบำบัดรักษาแล้วกลับมาเรียนได้
2. เป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 เพื่อให้นักเรียนรู้เท่าทันภัยจากยาเสพติดมี ทักษะชีวิตในการป้องกันยาเสพติด
2.2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา
2.3 เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ พัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนวังวิเศษ
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
ข้าพเจ้าได้ ออกแบบนวัตกรรม โดยใช้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ด้วยกระบวนการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยา เสพติดและอบายมุข รูปแบบ “ WISDOM Model ” มีหลักการและแนวคิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Participation Management ) ซึ่งได้นำทฤษฎีการบริหารเป็นฐานความคิดและมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ได้แก่
หลักการของวงจรเดมมิ่ง (PDCA )
การบูรณาการการดำเนินงานแบบองค์รวม เกี่ยวกับเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข ขั้นตอนการดำเนินงานได้ประยุกต์ โรงเรียนวังวิเศษ ใช้หลักการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้หลักความร่วมมือของภาคีเครือข่าย WISDOM Model
WISDOM Model มีขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้
W : Well Cogintion หมายถึง การสร้างการรับรู้ที่ดี เริ่มทั้งแต่ ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ต้องดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา กำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงต้องสร้างการรับรู้ให้ทุกคน ทั้งผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
I : Involvement stakeholders หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญ
ผลกระทบจากปัญหาสารเสพติด ทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตัวผู้เสพ ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและประเทศชาติ การแก้ไขปัญหาสารเสพติดต้องเริ่มต้นจากครอบครัวซึ่งใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชนมากที่สุด โดยการให้เวลากับบุตรหลานและร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น นอกจากนี้สังคมโรงเรียนและสถานศึกษาต้องมีการติดตาม สังเกตพฤติกรรมนักเรียน-นักศึกษาที่เข้าข่ายเกี่ยวข้องกับสารเสพติด การมุ่งให้ความรู้ในเรื่องอันตราย ผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเสพติด สร้างการรับรู้ ความตระหนักถึงภัยอันตรายน่าจะการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด และเป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องร่วมมือกัน
โดยใช้กระบวนการที่ต้องการสร้างจิตสำนึกถึงความสำคัญของการจัดโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนครู บุคลากรทางการศึกษาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการโดยการจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ
ได้ดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมเครือข่ายทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับภาคีเครือข่าย เช่น อำเภอวังวิเศษ โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สาธารณสุขอำเภอ วัด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสภานักเรียน
S : Several methods หมายถึง วิธีการที่หลากหลาย
ข้าพเจ้าได้ร่วมกันดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สถานศึกษามีระบบการป้องกันที่เข้มแข็งและยั่งยืนจึงใช่วิธีการที่หลากหลายในการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดในสถานศึกษา ให้มีการดำเนินงานตาม 6 หลัก ได้แก่ 1 หลักแห่งความจริง 2 หลักแห่งความมีใจกล้าพอ 3 หลักการยอมรับตนเอง 4 หลักไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่เห็นแก่ตัว 5 หลักการให้ความรักแก่ผู้อื่น 6 หลักการมีมนุษยสัมพันธ์ ทั้งนี้ต้องอยู่ในกฎหรือระเบียบข้อปฎิบัติที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ และกลยุทธ์ 2 ไม่คือ สถานศึกษาไม่ปกปิดข้อมูลนักเรียนที่มีพฤติกรรมติดยาเสพติดสถานศึกษา ไม่ไล่นักเรียนที่ติดยาเสพติดออก เป็นแนวทางการดำเนินงาน โดยถือวาเป็นผู้ป่วยต้องนำไปบำบัดรักษาแล้วกลับมาเรียนได้
D : Definite Reinforcement หมายถึง การเสริมแรงเชิงบวก
เห็นความสำคัญและมีจิตสำนึกร่วมกันที่จะปกป้องคุ้มครอง ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ความร่วมมือและร่วมแรงร่วมใจจัดกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนจัดกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนผู้บริหาร อำนวยการ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและจัดมาตรการเสริมแรง ให้แก่ ผู้รับผิดชอบด้านยาเสพติด ด้วยการยกย่องชมเชย มอบโล่ เกียรติบัตรผู้บริหาร อำนวยการ นำผลและข้อมูลที่ได้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสถานศึกษาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
O : Outstanding Supervision หมายถึง การนิเทศ กำกับ ติดตามที่ดี
มีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ สถานศึกษามีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตาม ดูแล อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ การบำบัดรักษามีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ปริมาณของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงลดจำนวนลงมีการกำหนดปฏิทินการกำกับติดตาม ประเมินผล อย่างชัดเจนเพื่อสะดวกในการนัดวัน เวลาในการจัดกิจกรรมให้คำปรึกษา มีการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข นำแบบประเมินสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของครู ผู้ปกครอง ชุมชน และประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จากนั้นคณะกรรมการดำเนินงานหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการจัดทำบันทึกการกำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ
ผู้บริหาร อำนวยการ นำผลและข้อมูลที่ได้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสถานศึกษาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
M : Maintain Improvement หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นจากความพยายามอย่างต่อเนื่อง ค่อยเป็นค่อยไปในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ของนักเรียนจากมาตรฐานเดิมที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการปรับปรุงการทำงานของผู้บริหารคณะครู ผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ดียิ่งขึ้น การปรับปรุงนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษใดๆ เพียงแต่ใช้สามัญสำนึกของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนในการที่จะแก้ไขปัญหา
รวมทั้งพัฒนา/ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อปลูกฝัง หล่อหลอมให้เด็กสามารถดำรงชีวิตได้อย่าง
ปลอดภัยจากยาเสพติด เช่น ทักษะสมอง ทักษะชีวิต ทักษะสังคม ฯลฯ โดยผ่านการอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนา การเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนตั้งแต่ปฐมวัย - อุดมศึกษา รวมถึงการสร้างจิตสำนึกที่ดีควบคู่การมีคุณธรรมจริยธรรม ในส่วนของช่วงวัยปฐมวัยและประถมศึกษา ต้องอาศัยกลไกครูเป็นหลักในการถ่ายทอด/สร้างการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ เสริมสร้างทักษะชีวิต ให้ความรู้เพื่อการป้องกันยาเสพติด ควบคู่การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม พร้อมด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้มีกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมกลุ่มเพื่อน เครือข่าย/องค์กรเยาวชน กิจกรรม TO BE NUMBER ONE กิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตน
4. ผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
ข้าพเจ้า ได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยใช้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ด้วยกระบวนการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข รูปแบบ “ WISDOM Model ” จนก่อเกิดความสำเร็จดังนี้
ด้านผู้เรียน
นักเรียนตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติดโรคเอดส์การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อบายมุขและอุบัติภัยที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม มีความคิดริเริมสร้างสรรค์สามารถสร้างองค์ความรู้และมีความ สัมพันธ์ที่ดีต่อกันจากการร่วมกิจกรรมห้องเรียนสีขาว นักเรียนไม่เสพสารเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุและอบายมุข ปฏิบัติตามระเบียบสถานศึกษา ทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุข จำนวนนักเรียนที่อยู่ใน กลุ่มเสี่ยงลดลง การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา ผลที่ได้จากการช่วยเหลือ สามารถติดตามนักเรียนมาเรียนจนจบ หลักสูตร สามารถช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหามาเรียนในสถานศึกษาจนจบภาคบังคับ
ด้านห้องเรียน
มีระบบการบริหารจัดการและดำเนินงานห้องเรียนสีขาวอย่างเหมาะสม มีแผนจัดกิจกรรมเรียนรู้และจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการป้องกันและการปลอดสาร/ยาเสพติดโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอบายมุข และอุบัติภัย ห้องเรียนมีบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ปลอดสารเสพติดโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอบายมุข และอุบัติภัย
ด้านครูที่ปรึกษา
ครูที่ปรึกษา มีส่วนร่วมในการส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหา และ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของห้องเรียนสีขาวและสถานศึกษาในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอบายมุข และอุบัติภัย
ด้านผู้ปกครอง
ผู้ปกครองพึงพอใจในการช่วยเหลือนักเรียน การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุขมีความพึงพอใจในประโยชน์ที่ได้รับ
สรุป นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน โรงเรียน ผู้บริหาร ครู ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านขวัญและกำลังใจ แนะนำ กำกับติดตาม และร่วมกันประเมินผลการดำเนินงาน
5.2 ครูทุกคนทุ่มเทกำลังใจ กำลังกาย ในการปฏิบัติงาน
5.3 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการกำกับ ติดตาม และแก้ไข ปัญหาของบุตรหลานเป็น อย่างดี
5.4 ชุมชน และผู้นำท้องถิ่น ให้การสนับสนุนและ มีส่วนร่วมและ ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของนักเรียน
5.5 อัตราส่วนของครู : นักเรียน คือ 1 : 10 ส่งผลให้ครูประจำชั้น ทุกคนดูแลนักเรียนในระดับชั้น
ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างทั่วถึง ปัญหาหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่นักเรียนแสดงออกจะได้รับ การดูแลและแก้ไขอย่างเหมาะสมทันเวลา
5.6 สถานศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม อย่างชัดเจน ปลูกฝังค่านิยม
ที่ถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกที่ดี สร้างทักษะชีวิตของเด็กอย่างเข้มแข็งส่งผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติด
6. บทเรียนที่ได้รับ
ข้าพเจ้า ได้ดำเนินการพัฒนา นวัตกรรมส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยใช้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ด้วยกระบวนการสถานศึกษาสีขาว ปลอด ยาเสพติดและอบายมุข รูปแบบ “ WISDOM Model ” จนเกิดข้อสรุปและบทเรียนที่ได้รับ ดังนี้
6.1 การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนช่างสังเกต โดยมองจุดเล็กจุดน้อยเพื่อนำมาเป็นหัวข้อเพื่อนำไปสู่
การพัฒนาตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต ฝึกฝนให้เป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน โดยควรหมั่นตรวจสอบเพื่อค้นหาจุดบกพร่อง จุดผิดปกติ หรือสิ่งที่น่าจะเกิดปัญหา หรือความสูญเปล่าต่างๆ รวมไปถึงจุดที่อาจจะทำให้เกิดอันตราย
6.2 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และไม่ย่อท้อ เมื่อเจอปัญหาหรืออุปสรรคก็ไม่ย่อท้อ ทำแล้วทำอีกแก้ไขแล้ว แก้ไขอีก ไม่ประสบความสำเร็จไม่เลิก ปรับปรุงให้ดีขึ้น ๆไป อยู่เสมอ ไม่พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่แนวทางการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความตั้งใจ และไม่ย่อท้อ เพื่อฝึกทำงานภายใต้ภาวะกดดัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และต้องมีวินัยไม่ทอดทิ้งก่อนที่จะดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ
6.3. การทำงานเป็นทีมเวิร์ค (TEAM) ด้วยความรัก และสามัคคี เพราะต้องช่วยกันเก็บข้อมูลช่วยกันปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ โดยรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆในทีม กิจกรรมต่างๆ จะสำเร็จได้ก็อาศัย ความรัก ความเข้าใจ และความสามัคคี การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่ทำงานเป็นทีมด้วยความรักและสามัคคีต้องฝึกฝนตนเองให้เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยไม่ยึดเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ทำงานแบบเป็นพี่ๆ น้องๆ ไม่ใช้อารมณ์ หรือนำเรื่องส่วนตัวมาปนกับเรื่องงาน มีน้ำใจ พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นและให้อภัยเสมอเมื่อเกิดข้อผิดพลาด แล้วพร้อมที่จะก้าวเดินไปด้วยกัน
6.4 ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อค้นคิดหาวิธีการใหม่ๆ ตามหลักวิชาการ หรือแม้แต่การลองผิดลองถูก เพื่อมาปรับปรุง และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอต้องอ่านให้มาก ฟังให้มาก จดให้มาก และคิดให้มาก
6.5 มีความคิดสร้างสรรค์ มีการค้นคิด ประดิษฐ์ ทดลอง การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ต้องอ่านหนังสือ หรือค้นหาข้อมูลที่สร้างความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญคือ ต้องกล้าคิด กล้าฝันและกล้าจินตนาการ บนพื้นฐานของความจริง
6.6 มีความสามารถในการประสานงาน จะเห็นได้ว่าเกือบทุกเรื่องที่เราทำเราไม่สามารถทำด้วยตัวคนเดียว ต้องอาศัยพึ่งพาอาศัยความรู้ และความช่วยเหลือจากผู้อื่นเสมอ การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการประสานงาน ควรเป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักใช้คำพูดที่ควรใช้ และควรใช้ประโยคขอร้อง มากกว่าประโยคคำสั่ง ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักกาลเทศะ ควรเลือกเวลาที่เหมาะสมสะดวกทั้งเราและผู้ที่เราไปขอความช่วยเหลือจากเขา
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.1 นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดมารยาทไทยระดับชาติ ได้รับโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
7.2 นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันกรีฑาชิงชนะเลิศจังหวัดตรัง
7.3 สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564
7.4 สถานศึกษามีเครือข่ายในการร่วมกันขับเคลื่อน การพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
7.5 ผู้บริหาร ครู ได้ร่วมเป็นวิทยากรในการขับเคลื่อน การพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
8. การขยายผล หรือประยุกต์ใช้ผลงานนวัตกรรม
8.1 โรงเรียนวังวิเศษและสถานีตำรวจเขาวิเศษ ร่วมสร้างเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
8.2 โรงเรียนวังวิเศษได้ดำเนินการประชุมกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง เครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการถอดบทเรียน นำไปสู่แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
8.3 สภานักเรียนโรงเรียนวังวิเศษร่วมแลกเปลี่ยนรู้แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากับโรงเรียนต่างๆในจังหวัดตรัง