การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
เรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวจรียารัตน์ ใช้ช้าง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง
แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองยางพิทยาคม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสถิติร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.05/86.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) เชิงรุก (Active Learning) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.38 (S.D. = 0.61)