การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมนาฏศิลป์โคราช
นาฏศิลป์โคราช ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางณิชกานต์ สมบัติชัย
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอน เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมนาฏศิลป์โคราช เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์โคราช ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน และ 3) ประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนมะค่าวิทยา อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1.1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้ และ 1.2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน เวลา 18 ชั่วโมง โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2.3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอน เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมนาฏศิลป์โคราช เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์โคราช ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมะค่าวิทยา มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น 7 องค์ประกอบ คือ 1) ข้อตกลงเบื้องต้นของรูปแบบการเรียนการสอน 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมายของรูปแบบการเรียนการสอน 4) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน มี 4 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเสนอสิ่งเร้า (Stimulus) ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อม (Start) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน (Step) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอผลงานและประเมิน (Star) 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง และ 7) ระบบสนับสนุน ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (