การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
ผู้ประเมิน นายภานุเดช ปีภา
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยนกแล
ปีที่เผยแพร่ 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ด้านกระบวนการ(Process) และด้านผลผลิต(Product) โดยใช้รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 24 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จานวน 13 คน (ยกเว้นผู้บริหารและตัวแทนครู) นักเรียน จำนวน 109 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 86 คน รวมประชากรทั้งหมด จานวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ฉบับที่ 1,2,3 สำหรับสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 สำหรับครูและผู้ปกครอง และฉบับที่ 5 สำหรับนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประจำปีการศึกษา 2564 ผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประจำปีการศึกษา 2564 ผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประจำปีการศึกษา 2564 ผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product) ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประจำปีการศึกษา 2564 ผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ด้านผลผลิต ผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธด้านไตรสิขา จำนวน 3 ด้าน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จากการเข้าร่วมในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด