ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวพัสนี สีระบุตร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่จัดทำ 2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบ สอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) = 82.92/81.04
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด