LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดประชานาถ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 11 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 14 - 18 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567 

การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     นางสาวพัสนี สีระบุตร
ปีที่พิมพ์     2563
หน่วยงาน โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา อำเภอน้ำขุ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบกิจกรรมการสอน ARITAM Model 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 5) แบบทดสอบวัดทักษะการฟังภาษาอังกฤษ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอน ARITAM Model การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า
    1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากนักเรียนต้องการที่จะพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจในการสื่อสาร และบทเรียนมัลติมีเดียที่มีความทันสมัยและสะดวกในการเรียน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนรู้ และกำหนดสมรรถนะหลักที่สำคัญให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนคือ ความสามารถเพื่อการสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และความสามารถในการคิด ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษเห็นด้วยกับรูปแบบการสอน ARITAM Model ที่จะนำมาพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพื่อใช้แก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะการฟังของนักเรียน
    2) ผลการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า ARITAM Model โดยรูปแบบมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม สิ่งที่เสริมการเรียนรู้ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจและคาดการณ์ (A: Arousing and Predicting for Listening) 2) ขั้นทบทวนภาษาก่อนการฟัง (R: Revising the Language for Listening) 3) ขั้นฟังอย่างเข้มข้น (I: Intensive Listening) 4) ขั้นถ่ายโอนหลังการฟัง (T: Transferring after Listening) 5) ขั้นประเมินผลและสรุป (A: Assessing and Summarizing the Listening) และ 6) ขั้นนำเสนอและเผยแพร่ผลงาน (M: Making Publication of Works) ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (X =4.72, S.D.=0.45) และผลการพัฒนารูปแบบการสอนในภาคสนามมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.71/81.04
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีความสนใจ และกระตือรือร้นในการเรียนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี นำเสนอผลงานเป็นที่น่าพอใจ และความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการใช้รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.45/82.43
    4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.54, S.D. 0.60) และได้ปรับปรุงเนื้อหาบริบทการฟังให้น่าสนใจ ทันสมัยและมีความยากง่ายให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^