LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธาน รร.โดยใช้ ROMPHO MODEL

usericon

การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 – 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 - 2564 2) ศึกษาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 - 2564 ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านการปรับตัว ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความมีจิตอาสา ด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ด้านความรับผิดชอบ 3) ศึกษาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 – 2564 4) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 – 2564 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 – 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ทุกคน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 47 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 47 คน ครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 คนและปีการศึกษา 2564 จำนวน 8 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 47 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน และเครือข่ายชุมชนปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ และแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .849 - .965 ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการวิจัยพบว่า
    1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับคุณภาพการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 – 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน หลังการพัฒนา พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก โดยครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( x-bar= 4.06 , S.D. = 0.59) รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.97 , S.D.= 0.70) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากัน อยู่ในระดับมากเช่นกัน (x-bar = 3.79 , S.D.= 0.59) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก - มากที่สุด โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.54 , S.D. = 0.42) รองลงมา คือ เครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.32 , S.D.= 0.62) ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.16 , S.D. = 0.70) สอดคล้องกับสมมติฐาน
        2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกถึงศักยภาพตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563- 2564 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และครู พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับดีมาก โดย ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับดีมาก (x-bar = 4.31 , S.D. = 0.57) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากเช่นกัน ( x-bar = 3.99 , S.D. = 0.75) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับดีมาก – ดีเยี่ยม โดย ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับดีเยี่ยม (x-bar = 4.55 , S.D. = 0.61)รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ( x-bar= 4.38 , S.D. = 0.64) สอดคล้องกับสมมติฐาน
        3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 - 2564 ตามแบบสังเกตพฤติกรรมของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2563 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมีคุณภาพระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 88.29 ส่วนปีการศึกษา 2564 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมีคุณภาพระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 92.98 สอดคล้องกับสมมติฐาน
        4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนที่สะท้อนถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 – 2564 ตามแบบสังเกตพฤติกรรมของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2563 คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีคุณภาพระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 89.49 ส่วนปีการศึกษา 2564 คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีระดับคุณภาพดีมากขึ้นไป ร้อยละ 93.53 สอดคล้องกับสมมติฐาน
        5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 – 2564 พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า เครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( x-bar= 4.49 , S.D. = 0.79) รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x-bar= 4.34 , S.D. = 0.62) ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (x-bar = 3.98 , S.D. = 0.69) ส่วนปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.59 , S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง และเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.48 , S.D. = 0.54) ส่วนครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.45 , S.D. = 0.58) สอดคล้องกับสมมติฐาน
    
ข้อเสนอแนะ
    จากการวิจัยการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามปณิธานโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง โดยใช้ ROMPHO MODEL ปีการศึกษา 2563 – 2564 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่น ของการมีแบบอย่างที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนต่อไป
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
    1.1 ด้าน R : Realize (เข้าใจและยอมรับ) การส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจในตัวเองหรือการยอมรับตัวเองทั้งด้านที่ดีและไม่ดี มีมุมมองที่มองตัวเองเป็นกลาง เข้าใจความรู้สึกนึกคิดและสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ ยอมรับสภาพที่เป็นได้โดยไม่ต่อต้าน ผู้บริหาร ครูบุคลากร ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พูดและแสดงออกถึงพฤติกรรมความเป็นตัวตน แล้วจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นคุณค่า ให้เกียรติตนเองและผู้อื่น พร้อมที่จะพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
    1.2 ด้าน O : Orientation (ปรับตัว เปลี่ยนแปลง) การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการปรับตัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือแสดงออกในลักษณะที่เหมาะสม โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.3 ด้าน M : Motivation (สร้างแรงบันดาลใจ) การสร้างแรงจูงใจ แรงผลักดัน ความท้าทายให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ อยากจะฝึกฝนและพัฒนาตนเอง มองการเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก ตลอดจนการยกย่อง ชมเชย เพื่อให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจนำไปสู่ความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายความสำเร็จในชีวิต ผู้บริหาร ครูบุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายต้องกระตุ้น สร้างความกระตือรือร้น สร้างความท้าทายให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยการสร้างบรรยากาศ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองและแสดงพฤติกรรมตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
1.4 ด้าน P : Participation (ใช้การมีส่วนร่วม) การมีส่วนร่วม จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้แก่ ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โรงเรียนต้องจัดประชุมหรือเวทีเสวนาเพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมชื่นชมความสำเร็จ คือ นักเรียนมีศักยภาพเต็มขีดความสามารถของแต่ละบุคคล
1.5 ด้าน H : Hero & Idol (รวบรวมแบบอย่างที่ดี) การสร้างแบบอย่างที่ดีทั้งเพื่อนดี ครูดี ครอบครัวดี สังคมและสภาพแวดล้อมดี โรงเรียนต้องรวบรวมแบบอย่างที่ดีให้การยกย่อง ชมเชยเพื่อให้นักเรียนได้ยึดเป็นแบบอย่าง มีแรงบันดาลใจ เกิดความรัก ความศรัทธา ความเชื่อมั่นในแบบอย่างและมีความรู้สึกอยากเลียนแบบพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตามแบบอย่างที่ดีเต็มตามศักยภาพ
     1.6 ด้าน O : Opportunity (สร้างโอกาสที่หลากหลาย) การสร้างความเชื่อมั่น ความกล้าแสดงออกให้กับนักเรียนในทางที่สร้างสรรค์ตามโอกาสที่เหมาะสม โรงเรียนต้องส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถตามความถนัด ความต้องการ โดยการหาเวทีการประกวด การแข่งขัน ให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน เวทีการแสดง การประกวดหรือการแข่งขันทักษะต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนา และค้นพบความถนัดของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
     1.7 หลังการพัฒนา โรงเรียนควรมีการประเมินผล ทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ด้านครอบครัว ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน เป็นต้น
2.2 ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้านทักษะอาชีพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองและมีทักษะอาชีพพื้นฐานติดตัวไปใช้ในอนาคต
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^