รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
ผู้ประเมิน นายไพโรจน์ เรื่องลือ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนตะคร้อพิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนตะคร้อพิทยา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง รวม 404 คน ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) ด้านบริบทหรือสิ่งแวดล้อม (Context) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( x-bar= 4.47, S.D. = 0.56 )
เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 1 ความจำเป็นของการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( x-bar= 4.63, S.D. = 0.48 ) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x-bar = 4.48, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 10 โรงเรียนมีการรวบรวม จัดหา พัฒนาสื่อเทคโนโลยี ที่ทันสมัย เหมาะสม เพียงพอ ที่ใช้ส่งเสริม ช่วยเหลือ ป้องกัน แก้ไขปัญหา และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( x-bar= 4.58, S.D. = 0.57 ) 3) ด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( x-bar= 4.47, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 8 โรงเรียนมีแผนงาน โครงการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนที่สอดคล้องกับผลการคัดกรองนักเรียนตามข้อมูลสารสนเทศ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( x-bar= 4.59, S.D. = 0.49 ) 4) ด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( x-bar= 4.47, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 6 ครูที่ปรึกษารู้จักนักเรียนในการดูแลของตนเอง ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( x-bar= 4.61, S.D. = 0.49 ) และผลการประเมินผลผลิต ตามความคิดเห็นของนักเรียน นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( x-bar= 4.47, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 1 นักเรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( x-bar= 4.66, S.D. = 0.56 ) 5) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x-bar = 4.48, S.D. = 0.56)
เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 2 ความเหมาะสมของโครงสร้าง แผนงาน โครงการ ปฏิทินปฏิบัติงาน และมีคู่มือการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( x-bar= 4.60, S.D. = 0.49 )