การพัฒนากระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล
ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว)
ผู้วิจัย นายวีระชัย จันทร์กระจ่าง
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) 2) เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) 4) เพื่อประเมินผลกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) และ 5) เพื่อขยายผลการสร้างเครือข่ายการใช้กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) ในการวิจัยในครั้งนี้มี 5 ขั้นตอน โดยมีขั้นตอน กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือและรายละเอียดดังนี้คือ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร และครู โรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) จำนวน 3 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว)
ขั้นตอนที่ 3 การใช้กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) ทั้ง 3 ขั้นตอนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) จำนวน 14 คน นักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) จำนวน 142 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และใช้วิธีเทียบxxxส่วน (Proportion) และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 5 การสร้างเครือข่ายขยายผลการใช้กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลัก ธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนกับโรงเรียนเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนเครือข่าย 3 โรงเรียน จำนวน 33 คน นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 240 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และใช้วิธีเทียบxxxส่วน (Proportion) และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล (PDCAGG) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) ประกอบไปด้วยกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพ PDCA ตามขั้นตอนการวางแผน (Plan: P) การปฏิบัติตามแผน (Do: D) การตรวจสอบ/ประเมินผล (Check: C) และการปรับปรุงแก้ไข (Act: A) ตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance: GG) 6 หลัก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ดังนี้ คือ 1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรวจตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคมและสังคมนิยมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคล 2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ ของรัฐยึดหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจขยัน อดทน มีระเบียบวินัยประกอบวิชาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ 3) หลักความโปร่งใส ได้แก่สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกลการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกเป็นกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ 4) หลักการมีส่วนร่วมได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ แสดงความเห็นในการตัดสินปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความหรือการไต่สวน การประชาสัมพันธ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ 5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม การใสใจปัญหาของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นช่วยแก้ปัญหาตลอดจนการเคารพในความเห็นแตกต่างและความกล้าที่จะรับผลกระทบจากการกระทำของตนเอง 6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมโดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้อย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าบริการให้มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
2. ผลการประเมินการใช้กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) พบว่า อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจในกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) อยู่ในระดับมาก
3. ผลการสร้างเครือข่ายจำนวน 3 โรงเรียน พบว่า การใช้กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล (PDCAGG) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในภาพรวมโรงเรียนเครือข่ายนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล (PDCAGG) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของโรงเรียนเครือข่าย พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจในกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล (PDCAGG) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของรงเรียนเครือข่ายอยู่ในระดับมาก