การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยนกกก
ชื่อผู้วิจัย โชคชัย ธรรมฐิติพร
ปีที่ศึกษา 2565
คำสำคัญ การประเมิน/เศรษฐกิจพอเพียง/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยนกกก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประยุกต์ใช้แบบจำลองการประเมินโมเดลซิปป์ (CIPP Model) เป็นแนวทางการประเมิน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกกก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 323 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยนกกก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ส่วนด้านที่มีผลการประเมินน้อยที่สุด คือ ด้านบริบท
2. ผลการประเมินด้านบริบทโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยนกกก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยนกกก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยนกกก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 อยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยนกกก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนอยู่ในระดับมาก