ชื่อผลงานทางวิชาการ: การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค
(STAD)
ชื่อผู้เสนอผลงาน: นายณัฏฐกิตติ์ ขวางนกขุ้ม
สถานศึกษา: โรงเรียนวัดพิกุล อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ปีที่จัดทำผลงาน: 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (STAD) (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเสริมสร้าง สุขภาพสมรรถภาพและ
การป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค (STAD) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา
เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค (STAD) อยู่ในระดับใด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดพิกุลเงิน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 ห้อง มีนักเรียน
จำนวน 164 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนวัดพิกุลเงิน
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 35 คน ซึ่งได้จาก
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติทดสอบค่าที (t-testกDependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (STAD) อยู่ในระดับดีมาก
คิดเป็นร้อยละ 83.43
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (STAD)
คะแนนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (STAD)
อยู่ในระดับ มาก