รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อย ประจำปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นางวรรณกร โสภา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้าน
เข็กน้อย ประจำปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ ผู้ประเมินได้กำหนดแนวทางการประเมินโดยใช้การประเมินรูปแบบซิป (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อย ประจำปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับที่ 1 – 4 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อยประจำปีการศึกษา 2564ฉบับที่ 2 แบบประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อยประจำปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 3 แบบประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อยประจำปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อย ประจำปีการศึกษา 2564 และฉบับที่ 5 แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของ รศ.ดร.ปกรณ์ ประจัญบาน คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อยประจำปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมมีความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อยประจำปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเข็กน้อย ประจำปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินด้านผลผลิตโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้าน
เข็กน้อยประจำปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมมีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
5. แนวทางการพัฒนาโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5.1 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
5.1.1 โรงเรียนมีการแต่งตั้งคำสั่งมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน
5.1.2 ควรส่งครูทุกคนเข้ารับการอบรม และศึกษาดูงานในด้านการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5.1.3 ควรส่งเสริมให้ครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้นได้รับการอบรมในเรื่องจิตวิทยาแนะแนวที่ถูกต้อง
5.1.4 มีการกำกับติดตามการให้คำปรึกษาควรมีการกำหนดลงในตารางการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นการเรียนของนักเรียนที่เรียนอ่อน
5.1.5 โรงเรียนควรจัดทำระเบียนสะสม จัดทำแฟ้มประวัติของนักเรียนให้มีรายละเอียดที่ชัดเจน
5.1.6 ควรมีครูที่ปรึกษา 2 คน ทุกห้องเรียน
5.1.7 ครูควรออกเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนเพื่อสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครอง
5.1.8 ควรจัดทำกำหนดการจัดกิจกรรมอย่างมีรูปแบบชัดเจนมีแผนการนิเทศ กำกับ
ติดตาม ประเมินผล อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมถึงการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเหมาะสมกับความต้องการองนักเรียน โดยโรงเรียนเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
5.2 ด้านการคัดกรองนักเรียน
5.2.1 ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในการทำแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน
5.2.2 การประชุมชี้แจง และทำความใจในการใช้เกณฑ์การคัดกรอง ให้ความรู้กับ
ผู้กรอกแบบประเมิน และวิธีการวิเคราะห์แบบประเมิน
5.2.3 ควรมีการกัดกรองช้ำ ในนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา และมีการติดตามนักเรียนกลุ่มดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
5.2.4 ควรมีการประสานกับผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดกรองนักเรียน ซึ่งการคัดกรองควรพิจารณาข้อมูลนักเรียนอย่างรอบด้าน และครูควรเก็บผลการคัดกรองนักเรียนไว้เป็นความลับ
5.3 ด้านการส่งเสริมนักเรียน
5.3.1 ควรกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมก่อนเรียน(Homeroom) ให้ชัดเจน
5.3.2 การจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนควรจัดตามความต้องการของนักเรียน
5.3.3 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
5.3.4 ควรจัดทำแผนการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ
5.3.5 ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักเรียนตามความเหมาะสมและสร้างสรรค์
5.3.6 โรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอกับการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
5.4 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา
5.4.1 ควรขอความร่วมมือจากบุคลากรทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
5.4.2 ครูที่ปรึกษาควรมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ในการแก้ไขปัญหานักเรียน
5.4.3 โรงเรียนควรมีนโยบายการจัดกิจกรรมการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน
5.4.4 ผู้บริหารให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือกับเครือข่ายในการให้โอกาสกับนักเรียนที่มีปัญหา
5.5 ด้านการส่งต่อนักเรียน
5.5.1 มีการประชุมวางแผนในการแก้ไขปัญหานักเรียน
5.5.2 ข้อมูลของนักเรียนควรมีการนำเสนอต่อผู้บริหารให้ทราบปัญหาทุกครั้ง
5.5.3 ควรจัดวางระบบการติดตามช่วยแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
5.5.4 นักเรียนต้องพร้อมรับความช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษาและบุคลากรอื่น
5.5.5 ครูที่ปรึกษาติดตามผลการดำเนินงานช่วยเหลือนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
5.5.6 ครูที่ปรึกษาควรประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือนักเรียน