LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

usericon

ชื่อผลงาน     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
         อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ
         โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน     นายขรรค์ชัย เหน็บบัว
         ผู้อำนวยการโรงเรียนกงหราพิชากร
ปีที่รายงาน     ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

     การประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) 2) ระดับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข 3) ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขของครู 4) ระดับคุณภาพการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน 5) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างและประชากรดังนี้ นักเรียนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดย ใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 4, 5 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 359 คน ครูศึกษาจากประชากรครู จำนวน 27 คน ผู้ปกครอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 341 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครูได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน เครือข่ายชุมชน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้ผู้แทนจากเครือข่ายองค์กรชุมชนละ 2 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบท ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถาม ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบับที่ 6 แบบสอบถาม ด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบับที่ 7 แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน และฉบับที่ 8 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินโครงการทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.954 – 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 สรุปผลได้ดังนี้
    1.     ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.22) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.36) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.28)
    2.     ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่าโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก (μ = 4.65, σ = 0.28 ) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดเมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.77, σ = 0.29) รองลงมา คือ ความพร้อมของบุคลากร (μ = 4.69 , σ = 0.26) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเพียงพอของงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (μ = 4.60, σ = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
    3.     ผลประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครองและครู โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.57 ,σ = 0.23) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.51) ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.45, S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
    4.     ด้านผลิตของโครงการ จำแนกเป็น
        4.1    ผลการประเมินคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
         เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.51) รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( , μ = 4.63, S.D., σ = 0.48)
        4.2    ผลการประเมินคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
         เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.68, σ = 0.48) รองลงมา คือ ผู้ปกครองอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.48) ส่วน กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.63, S.D. = 0.53) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3    ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขของครู มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.52) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
            เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.26) รองลงมาคือ ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.26)
         4.4    ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษา เป็นผู้สังเกต โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.60, S.D. = 0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
     4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ) โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนกงหราพิชากร จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.15) รองลงมา คือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.29) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.53, S.D.= 0.13) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ
1.    ข้อเสนอเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
จากการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนกงหราพิชากร ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่นของการมีแบบอย่างที่ดีในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการนำกิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะไปประยุกต์ใช้ ดังนี้
1.1    การสื่อสารสร้างความเข้าใจ โรงเรียนควรสร้างความตระหนัก ความสำคัญของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ
1.2    การสร้างการมีส่วนร่วม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข
1.3 การสอบถามนิเทศ ติดตาม โรงเรียนต้องนำผลการนิเทศ กำกับติดตามมาใช้ในการปรับปรุง / พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1.4 การเสริมแรงเชิงบวก โรงเรียนควรมีการประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง ชมเชยตามวาระและโอกาสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1.5     การสร้างและขยายเครือข่าย โรงเรียนควรมีการสร้างและขยายเครือข่ายทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก และโรงเรียนควรจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้โรงเรียนอื่นๆ มาศึกษาดูงานได้

2.    ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1    ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในรูปแบบวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์ หรือ (CIPP Model)
2.2    ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^