การประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา
ผู้ประเมิน นายสำราญ จงอยู่เย็น
ปีที่ประเมิน พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ ปีการศึกษา 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา โรงเรียน
บ้านท่าโพธิ์ปีการศึกษา 2564
2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา โรงเรียน
บ้านท่าโพธิ์ปีการศึกษา 2564
3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา โรงเรียน
บ้านท่าโพธิ์ปีการศึกษา 2564
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา โรงเรียน บ้านท่าโพธิ์ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ปีการศึกษา 2564 ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation) ด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ศึกษาข้อมูล
จากประชากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ จำนวน 240 คน ประกอบด้วย ครู/บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนประถมศึกษา
ปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 109 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 8 ฉบับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ( ) มีค่าระหว่าง 0.83-0.97
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) ของครู/บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีผลการประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 และผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมโครงการ ในภาพรวมและรายข้อทุกข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation) ของครู/บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม มีผลการประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 และผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ของโครงการ ในภาพรวมและรายข้อทุกข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) ของครู/บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม มีผลการประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 และผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ในภาพรวมและรายข้อทุกข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป
4. การประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมประชาธิปไตยด้านคารวธรรม สามัคคีธรรมและปัญญาธรรม ของครู/บุคลากรและกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีผลการประเมินความเหมาะสมและการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 และผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมและรายข้อทุกข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินโครงการ มีดังนี้
5.1 การประเมินความพึงพอใจของครู/บุคลากรที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30
5.2 การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.35
5.3 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42
5.4 การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมมีผล การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45