รายงานประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางขนิษฐา จันทรศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชะแล้
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย1)ระดับคุณภาพของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 2)การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน วัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 3)ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 4)ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 79 คน ครู จำนวน 12 คน ผู้ปกครอง จำนวน 79 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 แบบสอบถามที่ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ฉบับที่ 7 แบบสอบด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะที่ 2 แบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 6 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 แบบสอบถามทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .090-.966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินรายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.28, S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.30, S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.26, S.D. = 0.79) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.23, S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.50, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่มีค่าเฉลี่ย ( = 4.36, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก ความพอเพียงของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.21, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.17 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( = 3.92, S.D. = 0.70) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.04 , S.D. = 0.64) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.01, S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.13, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.99, S.D. = 0.64) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 คุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ ( = 4.06 , S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.97 , S.D.= 0.58) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.24, S.D.= 0.65) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.98, S.D.= 0.68) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.2 การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.13 , S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.26 , S.D. = 0.65) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.16 , S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.97 , S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.3 ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 24.34 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม มีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 14.91 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ลดลงทุกรายการ คิดเป็นร้อยละ 9.43 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ( = 4.11, S.D.= 0.71) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.02 ,S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.15 , S.D.= 0.69) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.03 , S.D. = 0.72) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.24 , S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) จำแนกตามกลุ่มประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ทั้ง 4 ด้าน ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด (ข้อเสนอแนะ, ปัญหาอุปสรรค) จากความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ควรประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบก่อนประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม พร้อมวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา
ด้านปัจจัยนำเข้า ควรประสานงานให้ฝ่ายประมาณหรือผู้เกี่ยวข้อง ให้เกิดการคล่องตัว และเห็นความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
ด้านกระบวนการ ควรประสานงานการจัดกิจกรรมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน เพื่อการวางแผนหรือกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามปฏิทินและนิเทศติดตามการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกัน
ด้านผลผลิต ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูและบุคลากรที่ดูแลนักเรียน เช่น นักเรียนได้รับรางวัลดีเด่น จากการแข่งขัน ในด้านคุณธรรมหรือ ทักษะกีฬา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และชื่นชมยกย่องนักเรียนที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง ส่งเสริมการให้ความร่วมมือกับสหวิชาชีพและชุมชนเพิ่มขึ้น และส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ทั้งใน เรื่องเพศวิถี วินัยจราจรและความปลอดภัย
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบก่อน
ประเมินสภาพแวดล้อม พร้อมวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา
1.2 โรงเรียนควรประสานงานการจัดกิจกรรมกับกลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อการวางแผน
หรือกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามปฏิทินและนิเทศการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3 ผู้บริหารโรงเรียนควรเสริมแรงเชิงบวกสร้างขวัญกำลังใจแก่ครู บุคลากร นักเรียน
และผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
1.4 โรงเรียนควรส่งเสริมการให้ความร่วมมือกับสหวิชาชีพและชุมชนเพิ่มขึ้น
1.5 โรงเรียนควรส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 โรงเรียนควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2.2 โรงเรียนควรมีการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน