สถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิโดยใช้ TONKHORS
ผู้วิจัย นางนิลุบล ชุมแวงวาปี
สถานศึกษา โรงเรียนราชประชา509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่วิจัย 2563-2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4) เพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน 7 คน บุคลากรทางการศึกษา 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน) นักเรียน 60 คน ผู้ปกครอง 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบตรวจสอบ 1 ฉบับ 4) แบบประเมิน 1 ฉบับ 5) แบบวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านระดับปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับ มากทุกด้าน และความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน ระดับมาก 3 ด้าน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 1.ด้านการทำงานเป็นทีม (T : Teamwork) 2.ด้านมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา(O = Ongoing development ) 3.ด้านเครือข่ายคุณภาพ( N : Network Quality) 4ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้และความสุข ( KH = Knowledge & Happiness) 5.ด้านองค์กรคุณภาพ (O : Organization)6.ด้านความพร้อม( R : Readiness) 7 ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(S : Sufficiency Economy) โดยมีความสัมพันธ์กันทั้ง 7 ด้าน
3. ผลการศึกษาการทดลองการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.48
4. ผลการศึกษา การประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54