การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนรัฐประชา509
ผู้ประเมิน นางนิลุบล ชุมแวงวาปี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนรัฐประชา 509 อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยใช้การประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นแนวคิดของสติฟเฟลบีม (Stufflebeam) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยแบ่งการประเมินเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 4.1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ 4.2) การวิเคราะห์ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการ และ 4.4) การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการ กลู่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน นักเรียนจำนวนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน ปีการศึกษา 2563 และ ผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนจำนวนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 60 คน รวมทั้งสิ้น 139 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการประเมินโครงการ พบว่า การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (µ=4.42, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีรายละเอียดดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.24, σ=0.64) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.44, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.48, σ=0.74) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการวางแผน (Plan) รองลงมาคือ ด้านการดำเนินงาน (Do) ด้านการปรับปรุง (Action) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการตรวจสอบ (Check) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 5 ด้าน ประกอบด้วย
4.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.51, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.2 การวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และ ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ระหว่างคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยมากกว่าระดับประเทศ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 4.35 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.44, σ=0.76) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.4 การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.45, σ=0.75) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด