LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

ชื่อผลงาน:รายงานผลการประเมินโครงการระบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อผลงาน : รายงานผลการประเมินโครงการระบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านแพน
          “ศรีรัตนานุxxxล”
ผู้รายงาน     : นางสุภา จิตตรีพล
หน่วยงาน     : โรงเรียนวัดบ้านแพน “ศรีรัตนานุxxxล”
ปีการศึกษา : 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านแพน“ศรีรัตนานุxxxล”
โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นการศึกษาตามแนวคิด
ของสตัฟเฟลบีม (Stufflebeam) มาใช้ ประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย นำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการรวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านแพน “ศรีรัตนานุxxxล” เครื่องมือที่ใช้ ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 9 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน
1 ฉบับ แบบประเมิน จำนวน 1 ฉบับ รวม จำนวน 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ สถิต พื้นฐาน ซึ่งได้ แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้ สูตร IOC และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ นักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 196 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 196 คน ได้จากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี และมอร์แกน ใช้วิธี สุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก (Simple Random Sampling) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครู จำนวน 21 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 427 คน
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการครั้งนี้ สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน และนำเสนอผลของ ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยสรุปเพื่อให้เห็นความเป็นมา ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครง พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
         1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 3 ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับมาก


2.3 ระดับความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินในระดับมาก
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ พบว่ามีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้
3.2 ระดับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ร้อยละของสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ
17.09 ผ่านเกณฑ์ประเมิน
4.2 ร้อยละของสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิด เพิ่มขึ้นร้อยละ
17.93 ผ่านเกณฑ์ประเมิน
4.3 ร้อยละของสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการแก้ปัญหา เพิ่มขึ้นร้อยละ14.97 ผ่านเกณฑ์ประเมิน
4.4 ร้อยละของสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.00 ผ่านเกณฑ์ประเมิน
4.5 ร้อยละของสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.91 ผ่านเกณฑ์ประเมิน
4.6 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต อโครงการพบว่าผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับมาก
4.7 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.8 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผลการดำเนินการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านแพน “ศรีรัตนานุxxxล” ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^