การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวกของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
ชื่อผู้ประเมิน ว่าที่ร้อยตรีวิทวัส นาจพินิจ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวกของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนวัดบ้านดาบ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP model) ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวกของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนวัดบ้านดาบ ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 214 คน ซึ่งได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบที (t–test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านบริบท ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงเรียนมีการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บุคลากรมีจำนวนเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการดำเนินโครงการ และวัสดุและอุปกรณ์มีเพียงพอในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการและกิจกรรม ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมพัฒนาความใฝ่เรียนรู้ และความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิต คุณลักษณะเชิงบวกของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านความใฝ่เรียนรู้ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านความใฝ่เรียนรู้ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสวงหาความรู้ได้ นักเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจเรียน และนักเรียนนำความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ตามลำดับ 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนรู้เท่าทันการใช้สื่อและเทคโนโลยี นักเรียนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และนักเรียนสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ตามลำดับ และ 3) ด้านความรับผิดชอบ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม นักเรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และนักเรียนมีความรับผิดชอบ ในหน้าที่ของตน ตามลำดับ
ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะเชิงบวกของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนวัดบ้านดาบ ในภาพรวม หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนหลังดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ 1) ด้านความใฝ่เรียนรู้ ในภาพรวม หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนหลังดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์ ในภาพรวม หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนหลังดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ด้านความรับผิดชอบ ในภาพรวม หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนหลังดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. การประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ การจัดกิจกรรมในโรงเรียนมีการปลูกฝังคุณลักษณะเชิงบวกและค่านิยมที่ดีงามแก่นักเรียน และนักเรียนมีความรับผิดชอบ ตามลำดับ