LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน
จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน    นางสาวเนติมา สกุลวิโรจน์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนควนขนุน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน
จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 2.) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 3.) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 4.) ประเมินด้านผลผลิตการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 ดังนี้ 4.1 คุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 4.2 ระดับคุณภาพการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน/ท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 4.3    คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มาตรฐานที่ 1) โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 4.4     ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรครู จำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 981 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 981 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล โดบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้โปรแกรม SPSS Vesion 18 ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.838 - 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)

ผลการประเมินพบว่า
    1.    ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินโดยรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็น
        4.1    ผลการประเมินคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.2     ผลการประเมินการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน / ท้องถิ่นของครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์
     4.3    ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.4    ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนควนขนุน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์
ข้อเสนอแนะ
    1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1) โรงเรียนควรชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
    2) โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
    3) ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบและเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน
    2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินในครั้งต่อไป
    1) ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่โรงเรียนได้ดำเนินการ แต่ทั้งนี้โรงเรียนจะพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการประเมินใดควรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายว่าต้องการทราบข้อมูลหรือสารสนเทศใด จะได้เลือกใช้รูปแบบการประเมินที่เหมาะสม
    2) การประเมินโครงการระดับฝ่ายงานหรือระดับฝ่ายย่อยๆ ควรใช้รูปแบบการประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักในการประเมิน


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^