การพัฒนารูปแบบการบริหาร PLCP Model โรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์
วิชาชีพร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์
ผู้วิจัย : นางสาวเกื้อกชภรณ์ ขวัญทอง
ปีที่ทำวิจัย : ปีการศึกษา 2563-2564
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยในครั้งนี้เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการบริหารโดยเน้นกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ (2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโดยเน้นกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ และ (3) ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน
นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อรูปแบบการบริหารโดยเน้นกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ การพัฒนาการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยได้ดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 42 คน และนักเรียน จำนวน 835 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกข้อเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ ตามหัวข้อของการพัฒนา เทปบันทึกการประชุม แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปเป็นประเด็น หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารโดยเน้นกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ มีชื่อว่า Professional Learning Community ; Putting technology into learning enhancement (PLCP Model) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการบริหาร สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการบริหาร ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการบริหารมี 2 กลยุทธ์ คือ 1) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) และ 2) การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ (Putting technology into learning enhancement : P)
2. ผลการใช้รูปแบบการบริหาร PLCP Model ของโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ พบว่า 1) ครูได้รับการพัฒนา มีการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนร่วมกัน สามารถออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายขึ้น สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียนและนักเรียน มีการใช้กระบวนการกลุ่ม จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อภิปราย การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ของนักเรียนมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังพบว่าครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น ในรูปแบบของกัลยาณมิตร ใช้เทคโนโลยีในการช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและใช้ในการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในส่วนของการทำวิจัยในชั้นเรียนครูมีความกระตือรือร้น สนใจแสวงหาความรู้ และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ร่วมกันทุกคน พร้อมนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) นักเรียนได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เนื่องจากได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามลำดับ3) ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น ใส่ใจบุตรหลานด้านการเรียนมากขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหาของนักเรียน โดยให้ผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยกับครู ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษา และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากรของโรงเรียน โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลแก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 4) โรงเรียนมีสื่อ/แหล่งเรียนรู้มากขึ้น ครูมีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งสื่อทำมือ และสื่อที่ใช้มัลติมีเดียในการพัฒนา ทั้งมีการใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกับเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน ทำให้มีการนำสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาห้องสมุด มีชีวิต ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ทั้งด้านเอกสาร สิ่งพิมพ์ สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ด้วยระบบ Wireless LAN และมีการจัดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพิมพ์งานและสืบค้นข้อมูล
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหาร PLCP Model ของโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการบริหาร PLCP Model ของโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ อยู่ในระดับมาก