รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
ว่าที่ร้อยโทศักดิ์ชาย อุปศักดิ์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในสถานศึกษา สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา และประเมินรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดด้วยการสอนโครงงาน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมิน จำนวน 6 ชุด ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลการสนทนาเกี่ยวกับการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับ ความต้องการในการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 3) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 4) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และ 6) แบบประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี สำหรับประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปใน เชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัญหานักเรียนติด 0 ร มส. นักเรียน ไม่จบการศึกษาพร้อมรุ่นตามหลักสูตร พบว่า มีสาเหตุ 3 ประการคือ 1) สาเหตุจากตัวนักเรียน ได้แก่ ลักษณะหรือพฤติกรรมส่วนตัวที่ไม่เหมาะสม พื้นฐานทางการเรียนเดิม นิสัยในการเรียน การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน 2) สาเหตุมาจากลักษณะครอบครัวของนักเรียน และ 3) สาเหตุมาจากการจัดการศึกษาของโรงเรียน สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาทักษะการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ที่ประชุมเห็นว่า ควรดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดด้วยการสอนโครงงานทั้งระบบจึงจะเกิดผลสำเร็จได้ แต่การนิเทศภายในสถานศึกษาในปัจจุบันพบว่า การดำเนินการยังไม่ประสบผลสำเร็จและไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ผู้บริหารและครูผู้สอนจึงมีความต้องการในการนิเทศภายในสถานศึกษาตามแนวคิดการนิเทศการศึกษา ของกลิคแมน 5 ด้าน คือ การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม การเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ การพัฒนาหลักสูตร การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
2. ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีที่สร้างขึ้น มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด คือด้านจุดประสงค์ในการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ด้านความชัดเจนของเนื้อหาในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ด้านความชัดเจน ในการใช้ภาษา ด้านความเหมาะสมในการพิมพ์และรูปเล่ม ยกเว้น ด้านความสะดวกในการนำรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาไปใช้ ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
3. ผลจากการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี พบว่า 1) ผู้บริหารครูผู้นิเทศ และครูผู้สอนซึ่งเป็นผู้รับการนิเทศ สามารถดำเนินการและปฏิบัติตามรูปแบบ การนิเทศได้ 2) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความเห็นว่า การนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ทั้ง 5 ด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การพัฒนาหลักสูตร และการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ส่วนด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง และการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม เห็นว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) ครูมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการนิเทศตามกระบวนการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด และครูมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินการนิเทศ ทั้ง 3 ด้าน คือ พฤติกรรมการทำงานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ มาตรฐานด้านความถูกต้อง มาตรฐานด้านความเหมาะสม มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ และมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
5. ผลจากการพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ด้วยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ดังกล่าว ทำให้ได้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
5.1) การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ประกอบด้วย การวางแผนร่วมกับครูในการให้ความช่วยเหลือ เข้าไปมีส่วนร่วมกับครูเพื่อช่วยเหลือ สรุปผลการช่วยเหลือและวางแผนที่จะประชุมตรวจสอบความช่วยเหลือร่วมกับครู การประชุมวิเคราะห์ผลการช่วยเหลือร่วมกับครู ประชุมสรุปและวิเคราะห์กระบวนการช่วยเหลือครูทุกขั้นตอนเพื่อวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของกระบวนการ
5.2) การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ประกอบด้วย การพัฒนาครูให้มีศักยภาพใน การแสวงหาความรู้และประสบการณ์ การสร้างวินัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในทีมงาน การกำหนดปัญหาและเป้าหมายการแก้ปัญหาร่วมกัน การวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาของทีมงาน การสร้างแรงจูงใจ การเสริมแรงและสร้างขวัญกำลังใจ
5.3) การเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย สำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พัฒนาความสามารถในการสอนให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมสัมมนาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพครู
5.4) การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา วางแผนการดำเนินการใช้หลักสูตร ดำเนินการบริหารหลักสูตร การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา การปรับปรุง พัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร โดยการติดตามประเมินผล การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของนักเรียน จะทำให้ทราบปัญหาข้อบกพร่องของหลักสูตรเป็นข้อมูลย้อนกลับในการนำมาพิจารณาถึงการพัฒนาหลักสูตร
5.5) การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย การกำหนดปัญหา หรือ เป้าหมายการวิจัย การกำหนดวิธีการวิจัย หรือวิธีหาคำตอบ หรือวิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน การรวบรวมข้อมูลตามวิธีการที่กำหนด การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปและเขียนรายงานเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน