LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัด อบจ.อุดร

usericon

รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ว่าที่ร้อยโทศักดิ์ชาย อุปศักดิ์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และเพื่อประเมิน ความพึงพอใจการใช้รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แหล่งข้อมูลประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จำนวน 304 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 108 คน ผู้ปกครอง จำนวน 454 คน และนักเรียนโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 454 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ ตามหัวข้อรูปแบบ คู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบเพื่อสร้างเสริมศักยภาพนักเรียน แบบบันทึกผลการประชุม เพื่อพิจารณาผลการทดลองใช้รูปแบบเพื่อสร้างเสริมศักยภาพนักเรียน แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมิน ความพึงพอใจจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
    ผลการวิจัยพบว่า
    1.    ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
        1.1     ศึกษาสภาพและปัญหาของการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมศักยภาพนักเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้านศักยภาพของครู ยังขาดสมรรถนะ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ครูไม่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ส่วนด้านนักเรียนก็มีปัญหาหลายประการ กล่าวคือ กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ขาดสื่อการเรียนที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนยังมีน้อยและไม่มีประสิทธิภาพ ขาดทักษะการค้นหาความรู้ขาดความมุ่งมั่นในการประสบความสำเร็จ ขาดทักษะการอ่านและการเขียน
                การวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ได้แก่ 1. การพัฒนาศักยภาพครู 2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3. การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ 4. การส่งเสริม การร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา
        1.2     ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี พบว่า โรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนสร้าง องค์ความรู้ ด้วยตนเองอย่างหลากหลายทั้งในและนอกโรงเรียน โรงเรียนมีการสำรวจความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามความต้องการและเกิดประสิทธิภาพและโรงเรียนสนับสนุนทุกฝ่ายมีส่วนตัดสินใจในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเสมอ ซึ่งแสดงถึงความต้องการของครูในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
        1.3 ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการสร้างเสริมศักยภาพนักเรียน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย พบว่า การปฏิรูปการศึกษายังไม่บรรลุผล โดยสังเกตจากผลที่เกิดกับผู้เรียนยังไม่บรรลุตามมาตรฐานตัวชี้วัดเท่าที่ควร กระบวนการจัดการเรียน การสอนยังไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษาการใช้ชีวิตยังไม่มี ความพร้อม ไม่สามารถพัฒนาสื่อหรือนำสื่อมาช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เท่าที่ควร ขาดสื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และนักเรียนยังมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อยมาก ครูไม่มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ไม่ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน
                การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศักยภาพของนักเรียนในปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะ ทั้ง 5 ด้าน สรุปได้ว่า นักเรียนขาดสมรรถนะสำคัญหลายประการที่ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน นักเรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้รวดเร็วแต่ขาดวิจารณญาณในการคิด ไม่สามารถเลือกเสพข่าวสารหรือข้อมูลที่เหมาะสมได้ จึงทำให้การแสดงออกไม่เหมาะสม ขาดคุณธรรม ขาดความรับผิดชอบในการใช้สื่อเทคโนโลยี วิจารณญาณในการคิด กระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ไม่เหมาะสมจึงส่งผลต่อ การปฏิบัติหน้าที่ กาลเทศะ การตัดสินใจในการทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ถูกต้อง นักเรียนยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ด้วยตนเอง ขาดทักษะการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
                การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างเสริมศักยภาพนักเรียนอย่างไร สรุปได้ว่านักเรียนทั่วไปสามารถสร้างเสริมศักยภาพได้ตามความเหมาะสม ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา รวมทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เสริมสร้างศักยภาพทางด้านกระบวนการคิด ทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ความรับผิดชอบต่อตนเอง มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ควรนำนักเรียน ได้ศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่เหมาะสมและปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนมีความประพฤติ ที่ดี มีความนอบน้อมถ่อมตน มีคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมการอ่าน ส่งเสริมอาชีพตามความถนัด และดนตรี ด้านกีฬา มีการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่เหมาะสม
    2. ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า มีความตรงและ ความเหมาะสมมากโดยประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพ กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริม การร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา     
    3.    ผลการทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สรุปได้ดังนี้
        3.1     ผลการพัฒนาศักยภาพครู พบว่า ครูได้รับการพัฒนาตนเองมีการพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีสอน สามารถออกแบบกิจกรรมได้หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียนและนักเรียน ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น ในส่วนของการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูมีความกระตือรือร้น สนใจ แสวงหาความรู้ และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ทุกคน
        3.2     ผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่า มีผลงานการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากการที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ทำให้นักเรียนเป็นนักแสวงหาความรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่ บุคคลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเพื่อน ครู วิทยากร อินเทอร์เน็ต และเป็น ผู้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนเป็นผู้รับรู้ที่ดี
        3.3     ผลการพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้ พบว่า ครูมีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและ นำสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น ได้ปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มี ความสมบูรณ์ ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ทั้งด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ สามารถให้บริหารได้อย่างทั่วถึง ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริหารการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ให้เพียงพอด้วยระบบ Wireless LAN และมีการจัดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพิมพ์งานและสื่อค้นข้อมูลให้นักเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
        3.4     ผลการส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยให้ผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยกับครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาและเปิดโอกาสใช้ชุมชนได้มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และบุคลากรของโรงเรียน โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลแก่ชุมชน อย่างสม่ำเสมอ
        3.5 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยในทุกรายวิชาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
    4.    ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^