LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

โครงการโรงเรียนคุณธรรม

usericon

ชื่อผลงานวิชาการ     การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนบ้านชัฎเจริญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model
ผู้วิจัย     นางสุรภา ดวงจันทร์โชติ
หน่วยงาน     โรงเรียนบ้านชัฎเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ปี พ.ศ.     2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนบ้านชัฎเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน
CIPP Model ประกอบด้วยด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต
ของโครงการ ได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนบ้านชัฎเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โดยการเลือก
แบบเจาะจง จำนวน 102 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบริบทของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มี
ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา ส่วนข้อที่มี
ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินโครงการ
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ มีแผนการดำเนินงานตามโครงการอย่างชัดเจน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย
น้อยที่สุด คือ งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ
3. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของโครงการในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการ ดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ รูปแบบการจัดกิจกรรม
ในโครงการช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตจากการดำเนินโครงการ ด้านคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ อยู่อย่างพอเพียง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ซื่อสัตย์ สุจริต และเมื่อเรียงลำดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของนักเรียน สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้คือ อยู่อย่างพอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ มุ่งมั่นในการทำงาน ใฝ่เรียนรู้ ความมีวินัย และซื่อสัตย์สุจริต
5. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตจากการดำเนินโครงการ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้
ในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ สามารถ
รับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ นำมาปรับและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมอื่น
ข้อเสนอแนะ
1. ผลการประเมินโครงการเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไขในด้านต่างๆ และส่งเสริมกิจกรรมที่โรงเรียนสามารถทำได้ดี ให้ดียิ่งขึ้นไป
2. ควรส่งเสริม กระตุ้น ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความรับรู้ เชิงบวก และเพื่อให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน
3. ควรทำการประเมินในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี หรือในช่วงระยะเวลา 2-3 ปี การศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตามรูปแบบนี้สามารถแก้ปัญหาได้ รวมทั้งส่งผลต่อคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^