การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลยุทธ์บ้านสามฝัน
ผู้รายงาน นางวารี แก้วเรือง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2563 2) การพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ 5) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการ 6) ความพึงพอใจของเบญจภาคีที่มีต่อการดำเนินโครงการ 7) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 7.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 (GPA) 7.2) สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 7.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 121 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 95 คน ประชากรครู จำนวน 17 คน ประชากรเบญจภาคี จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 11 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 8 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .88-.96 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu,= 4.59,sigma=0.15) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.54, S.D. = 0.19) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่าน เกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.57, sigma=0.11) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D.=0.10) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.57, sigma = 0.10) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการนำผลมาใช้ในการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.60, sigma=0.31) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.56, sigma=0.20) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.55,sigma=0.40) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.54, sigma=0.28) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกิจกรรมของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 กิจกรรม พบว่า การส่งต่อนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.61, S.D.=0.33) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.60, S.D.=0.30) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน การส่งเสริมนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.58, S.D.=0.24) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.57, S.D.=0.35) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การคัดกรองนักเรียนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.52, sigma=0.26) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.52, sigma=0.09) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า รายการฝ่ายบริหารมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนปัจจัยเอื้อ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.82, sigma=0.39) รองลงมา ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและห้องเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.76,sigma=0.43) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การส่งเสริมให้ครูมีเวลาหรืออำนวยความสะดวกให้ครูได้พบปะเพื่อสะท้อนผลการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนซึ่งกันและกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mu=4.17,sigma=0.63) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.59, sigma=0.14) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D=0.20) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D.=0.20) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็น
4.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.55, sigma = 0.16) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการสนับสนุนให้ครูใช้ภาวะผู้นำหรือการปรับปรุงโรงเรียนและเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.82, sigma=0.39) รองลงมา คือ รายการการประสานความร่วมมือกับเบญจภาคีเครือข่ายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.70, sigma=0.48) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รายการการแสวงหาและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( mu= 4.41, sigma=0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้
กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D. = 0.21) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับผู้ปกครองนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.68, S.D.=0.46) รองลงมา คือ รายการนักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้ห่างจากสิ่งเสพติดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.66, S.D.=0.55) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รายการมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.39, S.D.=0.68) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.5 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.52, S.D = 0.22) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการนักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด
(x-bar = 4.61, S.D =0.58) รองลงมาคือ รายการการประสานความร่วมมือในเรื่องการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.60, S.D.=0.53) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.38, S.D.=0.65) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.6 ความพึงพอใจของเบญจภาคีที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.58, sigma=0.14) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการจัดกิจกรรมประชุมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.86, sigma=0.35) รองลงมาคือ รายการนักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านการเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.80, sigma=0.41) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านความประพฤติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mu= 4.33, sigma=0.81) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.7 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
4.7.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 2.70 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7.2 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 92.71 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 93.32 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 9 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรจัดให้มีโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นโครงการต่อเนื่อง และนำสารสนเทศที่ได้มาใช้วางแผนอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
4. โรงเรียนควรพัฒนาการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัดและมีความเป็นอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ได้
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื่องจากสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป
2. ควรมีการประเมินโครงการเชิงสาเหตุเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่งจะทำให้เป็นแนวทางการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
3. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม