รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
แนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลันสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สุรินทร์ เขต 3
ผู้วิจัย : นางสาวบุญสนอง หนูคง วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านโอทะลัน
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครู ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (2) สร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (3) การนำรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ไปใช้ และ (4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่พัฒนาขึ้นโดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครู ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยศึกษากับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 233 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 233 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยศึกษากับผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย เป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารสถานศึกษา อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ไปใช้ โดยศึกษากับครูในโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 17 คน และขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษากับครูในโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครู ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า สภาพปัจจุบันชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษารายด้าน พบว่า สภาพปัจจุบันการส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2.ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผลผลตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสม (Propriety) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ (Feasibility) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้าน โอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 คำชี้แจงการใช้คู่มือ ส่วนที่ 3 เนื้อหาสาระของคู่มือ ส่วนที่ 4 กิจกรรมหรือขั้นตอนวิธีการ และส่วนที่ 5 แหล่งอ้างอิง ผลตรวจสอบคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสม (Propriety) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ (Feasibility) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ผลการนำรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ไปใช้ พบว่า ก่อนการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการอบรมโดยรวม อยู่ในระดับมาก ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ก่อนการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการอบรมโดยรวม อยู่ในระดับมาก
4.ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนบ้านโอทะลัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่พัฒนาขึ้น พบว่า รายด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านลำดับสูงสุด ได้แก่ ความเหมาะสม (Propriety) อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ความเป็นไปได้ (Feasibility) อยู่ในระดับมากและลำดับต่ำสุด ได้แก่ ความเป็นประโยชน์ (Profitability) อยู่ในระดับมาก