LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

โครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง

usericon

ชื่อเรื่อง:     การประเมินโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
ผู้รายงาน:     นางวชิรา แสนโกศิก
        ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
         โรงเรียนวัดด่านช้าง
ปีการศึกษา: 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง โดยแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริง
ของโครงการ ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง 3) ประเมินการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้รูปแบบการประเมินตามรูปแบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ ของสเตค (Stake’s Countenance Model) ประเมินในด้านความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ ประเมินความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และการตัดสินใจในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้เกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมจำนวน 493 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใชhแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ แล้วสัมภาษณ์ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้ปกครอง และนักเรียน รวม 11 คน เพื่อให้คำตอบของการประเมินชัดเจนขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์

สรุปผล
1. ผลการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง แยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการในด้านความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน
ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ ในด้านความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินความสอดคล้องความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้างในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการ หรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ใช้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนวัดด่านช้าง ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์ทั้ง 3 ด้าน ตามเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดไว้ที่
ร้อยละ 75 ขึ้นไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^