การประเมินโครงการเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน
ผู้ประเมิน นางสาวบุญสนอง หนูคง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโอทะลัน
ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นคนดี มีจิตอาสา และรู้ค่าความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นคนดี มีจิตอาสา และรู้ค่าความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะลัน โดยแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ 1.2 ) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ 2) ประเมินความสอดคล้องระหว่างความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นคนดี มีจิตอาสา และรู้ค่าความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะลัน 3) ประเมินการตัดสินใจในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และ ด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นคนดี มีจิตอาสา และรู้ค่าความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะลัน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้รูปแบบการประเมินตามรูปแบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ของสเตค (Stake’s Countenance Model) ประเมินในด้านความสัมพันธ์เชิงตรรกะหรือเชิงเหตุ และผลของความคาดหวังและความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ประเมินความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและการตัดสินใจในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น เกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวน 285 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ แล้วสัมภาษณ์ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน รวม 14 คน เพื่อให้คำตอบของการประเมิน ชัดเจนขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นคนดี มีจิตอาสา และรู้ค่าความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะลัน แยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของสิ่งที่คาดหวังจากโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมากและ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการในความสัมพันธ์ ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และ ด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินและการตัดสินใจของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นคนดี มีจิตอาสา และรู้ค่าความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะลัน ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ กำหนดเกณฑ์สัมบูรณ์ ร้อยละ 80 กับความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ผลการตัดสินใจใช้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะลัน เฉลี่ยรวมด้านสิ่งที่มีมาก่อน อยู่ในระดับมากที่สุด (ช่วงเกณฑ์ 86.40-93.20) ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (ช่วงเกณฑ์ 87.70-95.20) และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด (ช่วงเกณฑ์ 86.40-91.40)