รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม
เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข
ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายวุฒิชัย แกล้วกล้า
รองผู้อำนวยการโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563 - 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ในครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม คุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,041 คน ครู จำนวน 54 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 1,030 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair) ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้ประเมิน 2) แบบสอบถามการประเมินปัจจัยนำเข้า เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair) คณะกรรมการดำเนินโครงการ เป็นผู้ประเมิน 3) แบบสอบถามการประเมินกระบวนการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair) นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เป็นผู้ประเมิน 4) แบบสอบถามประเมินผลผลิต เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 30 ข้อ พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair) นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เป็นผู้ประเมิน 5) แบบสอบถามประเมินผลผลิต เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair) นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เป็นผู้ประเมิน 6) แบบสอบถามประเมินผลผลิต เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair) ครู และผู้ปกครอง เป็นผู้ประเมิน 7) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair) นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้ประเมิน
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการ/ความจำเป็น ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบาย และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D.= .24 และ = 4.59, S.D.= .22) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D.=.36) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผน (P) การดำเนินการ (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (A) ภาพรวม พบว่า ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = .25) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = .25) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2. ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93, S.D.= .23) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D.= .28) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94, S.D.= .22) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนอื่นๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูล และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน
5. ควรศึกษารูปแบบการเสริมสร้างจิตอาสาของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา