LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบ CIPPie

usericon

การประเมินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบ CIPPiest โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม ปีการศึกษา 2561 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้าน ผลผลิต องค์ประกอบย่อยด้านผลกระทบ องค์ประกอบย่อยด้านประสิทธิผล องค์ประกอบย่อยด้าน ความยั่งยืน และองค์ประกอบย่อยด้านการถ่ายโยงความรู้ และ 2) เพื่อศึกษาสภาพประกอบปัญหา และแนวทางการพัฒนาปรับปรุงโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม อย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้รายงานใช้วิธีการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest (CIPPiest Model) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ความ คิดเห็นผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและผู้ดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วยผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการอำนวยการโครงการ จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 29 คน กลุ่มผู้ร่วมโครงการ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 154 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 154 คน และการ ตรวจสอบเอกสารโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ แบบตรวจเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการประเมินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวม พบว่า ครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการอำนวยการโครงการ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับ มาก โดยผลการประเมินของครูและบุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ทั้ง 3 กลุ่ม กล่าวคือ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของครูและบุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ได้แก่

วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคลองกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ปรับใช้ในการอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติได้จริง และสอดคลองกับความต้องการของ ผู้ปกครอง และสังคม

3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับ มาก โดยผลการประเมินของครูและบุคลากร และนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 2 กลุ่ม คือบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการมี ความรู้ความสามารถเหมาะสม

4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม ในระดับมาก โดยผลการประเมินของครูและบุคลากร และนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 2 กลุ่ม คือ มีการนำหลักสูตร สถานศึกษาพอเพียง/อีโคสคูล ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

5. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ประกอบย่อยด้านผลกระทบ (Impact) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของครูและบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 3 กลุ่ม คือ สถานศึกษามีชื่อเสียงจากการเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้

6. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ ประกอบย่อยด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของครูและ บุคลากร มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุด คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา มีความพึงพอใจในการ ดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

7. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ประกอบย่อยด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของครูและบุคลากร และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 2 กลุ่ม คือ ฐานการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และนักเรียนนำความ รูที่ได้จากการเรียนการสอน การร่วมกิจกรรมโครงการ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างหมาะสม ตามลำดับ

8. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ประกอบย่อยด้านการถ่ายโยงความรู้

(Transportability) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของครูและบุคลากร และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 2 กลุ่ม คือ สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

สามารถถ่ายทอดความรู้ แนวคิด เกิดประโยชน์กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงาน และผู้ปกครองร่วมกับ นักเรียน นำหลักการของโครงการสู่การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันเป็นกิจวัตร ตามลำดับ


ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุง โครงการอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม ปีการศึกษา 2561 พบว่า มีปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านบริบท พบว่า ข้อมูลปัญหา ความต้องการของผู้ปกครองไม่เป็นปัจจุบัน เห็นควรให้ ดำเนินการสำรวจข้อมูล ปัญหา ความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาทุกปีการศึกษา

2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า งบประมาณของโครงการไม่เพียงพอ ควรเพิ่มงบประมาณของ โครงการ รวมทั้ง สื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ในการดำเนินงาน และเสนอโครงการเข้าแผนงานของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 เพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณจากต้นสังกัด

3. ด้านกระบวนการ พบว่า เวลาในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมีน้อย คุณครูควรนำ หลักสูตรอีโคสคูล มาบูรณาการเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ากับการจัดการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระให้มากขึ้น

4. ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนบางคนขาดความรับผิดชอบเรื่อง แก้วน้ำ/กล่องข้าว/ถุงผ้า ส่วนตัวและไม่ดูแลรักษา อุปกรณ์เครื่องเขียน หนังสือ สมุดของตนเอง คุณครูควรให้ความรู้ คำแนะนำ และเป็นแบบอย่างในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งเข้มงวดและกวดขันการปฏิบัติของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

5. ด้านผลกระทบ พบว่า ผู้ปกครองบางคนยังไม่ยอมรับ หรือปรับตัวตามมาตรการรักษา สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือกับ ผู้ปกครองให้มากขึ้น

6. ด้านประสิทธิผล พบว่า การประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องไม่ชัดเจน ควรจัดประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจนทุกครั้งก่อนที่จะมีการต้อนรับคณะศึกษาดูงาน

คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม, รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest (CIPPiest Model)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^