รูปแบบซีท-คอพ 21 ซีพีเอส เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา
“การเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและนวัตกรรมอย่างผลิกผัน เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าในยุคปกติใหม่”
วันที่ 20 มกราคม 2565
The 9th National Conference on Educational Research, Naresuan University:
Disruptive Research and Innovation for Better Education in New Normal Era
200
รูปแบบซีท-คอพ 21 ซีพีเอส เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา
SEAT-CoP 21 CPS Model to Enhance Creative Problem-Solving Ability
for Pratomsuksa Student
สุวรรณา เข็มเพชร1*
Suwanna khemphet1*
1
โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2
1
Bumrungradwittayakhom School under the primary education service area Phichit 2, Phichit 66120
*Corresponding author, E-mail: suwanna.champhet@hotmail.com
บทคัดย่อ
รูปแบบซีท-คอพ 21 ซีพีเอส ผู้เขียนสร้างขึ้นสำหรับงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการบริหาร
โรงเรียนขนาดเล็กตามมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา” โดยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา แนวคิด
เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน แนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา
แบบเรียนรวมแนวคิดเกี่ยวกับศตวรรษที่ 21 และแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ผู้เขียนมุ่งศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของบุช ด้วยแนวคิดเพื่อนร่วมงาน 6 งาน คือ
1) การให้ความชัดเจนในการมีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายจากนโยบายของสถานศึกษา
2) การมอบหมายอำนาจหน้าที่ด้วยการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) การกำหนดมาตรฐานการทำงานด้วย
ความไว้วางใจด้วยการบริหารแบบกระจายอำนาจ 4) การฝึกอบรม การพัฒนาให้ความรู้และสารสนเทศด้วย
การบริหารสู่ศตวรรษที่ 21 5) การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดขึ้นและยอมรับข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
และ 6) การถึงเป้าหมายสูงสุด ผู้เขียนสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กด้วยแนวคิดเพื่อนร่วมงาน
โดยอาศัยกระบวนการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของฟาโยล 5 ขั้นตอน กล่าวคือ 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร
(3) การบังคับบัญชา 4) การประสานงาน และ 5) การควบคุม โดยบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการสอนและ
ประเมินผลความสอดคล้องกับโครงสร้าง SEAT ควบคู่กับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อบรรลุ
เป้าหมายต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียน จากกรณีศึกษาของ
โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2
คำสำคัญ: รูปแบบซีท การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 9
“การเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและนวัตกรรมอย่างผลิกผัน เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าในยุคปกติใหม่”
วันที่ 20 มกราคม 2565
The 9th National Conference on Educational Research, Naresuan University:
Disruptive Research and Innovation for Better Education in New Normal Era
201
Abstract
SEAT-CoP 21 CPS Model was created for the research “The Development of Small-sized
School Management Model accordance with Inclusive Education Standard in 2 1st century to
Enhance Creative Problem-Solving Ability for Pratomsuksa Student” by content analysis in school
administration, inclusive education standard, inclusive education, 2 1st century and creative
problem-solving ability. The researcher was attendance in small size school administration by
Bush collegial 6 tasks: 1) Clearly Policy, 2) Delegate authority, 3) Set standard of excellence,
4) Training and development, 5) Permission to fail, and 6) Goal. The model was processed by
Fayol 5 steps: 1) P – Planning, 2) O – Organizing, 3) C – Commanding, 4) C – Coordinating, and
5) C – Controlling. Teachers and educational personnel were teaching and evaluating align with
SEAT (Student-Environment-Activity-Tool) with internal quality assurance in school for student’s
creative problem-solving ability at Bumrungradwittayakhom School under the primary education
service area Phichit 2.
Keywords: SEAT Model, Creative Problem-Solving Ability
บทนำ
รูปแบบซีท-คอพ21 ซีพีเอส เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียน
ระดับประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่ผู้เขียนสร้างและพัฒนาขึ้นจากการรวบรวมทฤษฎี หลักการและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และการเสริมสร้างความสามารถใน
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งชี้แจงและวิพากษ์แนวคิดองค์รวมของการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ด้วยการศึกษาแบบเรียนรวม และบทสรุปที่กล่าวถึงแนวโน้มการพัฒนาความเป็นประโยชน์และความ
เป็นไปได้ของรูปแบบซีท-คอพ21 ซีพีเอส เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับ
ผู้เรียนระดับประถมศึกษาในอนาคต แนวทางการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม มีความสำคัญในการกำหนดคุณภาพการศึกษา เพราะเป็นคุณภาพภายในสถานศึกษา ที่มีข้อกำหนด
เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่มีผู้เรียนที่มีความพิการ
เรียนรวมหรือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมทุกแห่ง โดยมีการกำหนดมาตรฐานขึ้นเพื่อใช้ติดตาม กำกับ
ดูแล ตรวจสอบและประเมินผล ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีนโยบายให้สถานศึกษาในสังกัดจัดการศึกษาสำหรับคนพิการใน
รูปแบบการเรียนรวมนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยระยะเริ่มต้นมีโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวมจำนวนทั้งสิ้น
5,026 แห่ง จวบจนกระทั่งในปีการศึกษา 2559 ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับ
บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับสิทธิและโอกาสในการศึกษาอย่างเสมอ
ภาคกัน โดยมีการจัดการอย่างเหมาะสมทั้งในโรงเรียนและห้องเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการยึด
หลักปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เน้นให้มีการนำบริการการสนับสนุนต่างๆ มาจัดกระบวนการเรียนการ
สอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยกำหนดทางเลือกให้หลายๆ ทาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรวมกัน
ได้โดยไม่แบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ (สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, 2560) สอดคล้องกับการประกันคุณภาพ
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมซึ่งปรากฏเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ
ของคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 9
“การเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและนวัตกรรมอย่างผลิกผัน เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าในยุคปกติใหม่”
วันที่ 20 มกราคม 2565
The 9th National Conference on Educational Research, Naresuan University:
Disruptive Research and Innovation for Better Education in New Normal Era
202
อย่างไรก็ตาม ระบบการประกันคุณภาพในสถานศึกษาเป็นขั้นตอนที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริหาร
ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเพื่อความเหมาะสมและถูกต้องครอบคลุมของ
รูปแบบที่ผู้เขียนสร้างและพัฒนาขึ้น การจัดการศึกษาทุกระดับทุกรูปแบบดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและยังคงรักษาไว้ซึ่ง
มาตรฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จึงเห็นความสำคัญที่จะให้มีการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพ
การศึกษา โดยมีนโยบายปรับปรุงมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และตัวชี้วัดให้มีจำนวนที่เหมาะสม
เนื้อหามีความกระชับและมีคุณภาพ เน้นการประเมินตามสภาพจริง โดยมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
สร้างขึ้นเพื่อลดภาระการเก็บข้อมูลและลดการจัดทำเอกสารในการประเมิน ตลอดจนช่วยในการพัฒนาบุคลากร
ผู้ทำหน้าที่ประเมินภายในให้มีมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และมีความสามารถในการให้คำแนะนำและให้
คำปรึกษาแก่สถานศึกษาได้ ตลอดจนจัดทำมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งเป็นไปเพื่อการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างแท้จริง
มาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการจัด
การศึกษาแบบเรียนรวมให้มีคุณภาพ เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ
ของผู้เรียน คุณภาพของครู คุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษาให้มีความสอดคล้อง
ตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นหลักประกันคุณภาพการศึกษาอย่างหนึ่งในยุคของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมถือเป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นแนวคิดที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือองค์การ
ยูเนสโก (UNESCO) (อุษา กัลลประวิทย์, 2563) นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 และเพื่อให้เป็นไปตามกฎ
บัตรแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะประธานได้ดำเนินนโยบาย
ทางการศึกษาให้สอดคล้องกับสมาชิกทุกประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาต่อผู้เรียนที่มีความ
ต้องการพิเศษได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยถือว่าการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ โดยเชื่อว่า
การศึกษาจะทำให้คุณภาพของประชากรและคุณภาพของประเทศสูงขึ้นจึงส่งเสริมให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกจัด
การศึกษาตามหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนพัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางให้
สามารถดำเนินการไปสู่จุดหมายปลายทางของการศึกษาเพื่อปวงชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรูปแบบการจัด
การศึกษาแบบใหม่นี้ เรียกว่า การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education: IE) (ภูฟ้า เสวกพันธ์, 2562)
เป็นการจัดการการศึกษาเพื่อผู้เรียนทุกคนโดยไม่มีการแยกผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษออกจากห้อง โดยจัดให้
ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาในห้องเรียนปกติตามความต้องการหรือความแตกต่างของแต่ละบุคคล และจากการ
สำรวจขององค์การยูเนสโกพบว่ายังมีผู้เรียนที่มีความต้องการแบบพิเศษอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการศึกษา
ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรมีบทบาทในการให้ความสำคัญโดยการพัฒนาการศึกษาแบบเรียนรวม และเป็นผู้นำในการ
ปรับเปลี่ยนระบบตามมาตรฐานจัดการศึกษาในโรงเรียนเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้รับความเสมอภาค
ทางการศึกษา และสามารถพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งการจัด
การศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมควรให้การสนับสนุนตั้งแรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่
เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทาง
การศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกกระทรวง เพื่อส่งเสริมผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ใช้
ชีวิตประจำวันในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีทักษะเพื่อการดำรงตนในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เขียนจะได้วิพากษ์
แนวคิดแบบองค์รวมของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการศึกษาแบบเรียนรวมดังต่อไปนี้
การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 9
“การเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและนวัตกรรมอย่างผลิกผัน เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าในยุคปกติใหม่”
วันที่ 20 มกราคม 2565
The 9th National Conference on Educational Research, Naresuan University:
Disruptive Research and Innovation for Better Education in New Normal Era
203
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการศึกษาแบบเรียนรวม
จากหลักการของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้น ผู้เรียนในระบบการจัด
การศึกษาแบบเรียนรวมระดับประถมศึกษานอกจากจะเผชิญกับสภาวะบกพร่องทางร่างกาย สังคมและจิตใจแล้ว
ยังพบปัญหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษไม่ได้รับการศึกษาในระบบเรียนรวม ถูกล่วงละเมิดทางเพศทั้งบุคคลอื่น
และบุคคลในครอบครัว การถูกล่อลวงให้สิ้นอิสรภาพ การใช้แรงงาน ความเครียด การท้องวัยเรียน การทำแท้ง
ครอบครัวแตกแยก การเล่นการพนันฟุตบอล การติดเกมออนไลน์ การขาดการยอมรับจากผู้อื่นทำให้อยู่ในสังคม
ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นทุกข์ และมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากข่าวสาร
ตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างไม่สร้างสรรค์ขาดการไตร่ตรองส่งผลกระทบทางลบเป็นอย่างยิ่ง
เช่น เกิดการสูญเสียอิสรภาพ การสูญเสียชีวิต การทิ้งปัญหาไว้ให้ผู้อื่น เกิดพฤติกรรมเอาอย่างโดยไม่เลือกเพศ
เลือกวัยตลอดจนระดับการศึกษา เป็นต้น ดังนั้นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนรวมให้มีความสามารถในการ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยรูปแบบซีท-คอพ21 ซีพีเอส เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา เป็นสิ่งที่ผู้เขียนให้ความสำคัญ แสวงหารูปแบบร่วมมือกันพัฒนาและ
ปลูกฝังความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเรียนรวมเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์
ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์ (2560) ได้กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์
เป็นสิ่งที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหา การรวมความคิดสร้างสรรค์กับการแก้ไขปัญหาจะก่อให้เกิดความสามารถในการ
ค้นพบปัญหา และบุคลิกภาพที่สร้างสรรค์เพิ่มขึ้น เช่น การมีความอดทนในการแก้ปัญหา การมีท่าทีในการท้าทาย
ปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นความสามารถที่ขาดไม่ได้ในบุคคล การพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา
อย่างสร้างสรรค์ เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษสามารถเผชิญกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นใน
สังคมได้ ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จะมีพฤติกรรมไม่ยึดติดกับแนว
ทางแก้ไขปัญหาเพียงวิธีเดียวหรือมีวิธีการแก้ไขปัญหาในลักษณะเดิมที่ไม่ได้ผล ผู้เรียนมีความพยายามคิดหาวิธีการ
หรือแนวทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย และวิธีที่เลือกใช้นั้นมีประสิทธิภาพ
มากกว่าวิธีทั่วไป (ประภัสสร ดิษสกุล, 2562) ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีวิธีการคิด
เปรียบเทียบวิธีการแก้ปัญหาที่นำมาใช้แต่ละวิธี โดยการคิดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้เลือก
และสามารถหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีความเหมาะสมในการแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ได้ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา
ที่เลือกนั้นส่งผลกระทบทางลบน้อยที่สุด (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2562)
กรอบและทิศทางการศึกษาของโลกดำเนินการตามแนวคิดศตวรรษที่ 21 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001
เป็นต้นมา กล่าวคือ การพัฒนาผู้เรียนด้วยมาตรฐานทางการศึกษาล้วนเป็นผลกระทบที่เกิดจากความก้าวหน้า
ทางด้านเทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาซึ่งมีบทบาทและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับผู้เรียน
ทุกกลุ่ม (พัทฐรินทร์ โลหา และสิรินาถ จงกลกลาง, 2562) ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีโรงเรียนขนาดเล็ก
กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ให้คำนิยามโรงเรียนขนาดเล็กว่า
โรงเรียนขนาดเล็ก หมายถึง โรงเรียนที่มีผู้เรียนน้อยกว่า 120 คน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,
2543)ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ มักประสบปัญหา 3 ประเด็น (สนานจิตร สุคนธทรัพย์,
2561) 1) ขาดแคลนครู โดยเป็นผลเนื่องมาจากเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้กำหนด
xxxส่วนครูต่อจำนวนผู้เรียน กล่าวคือ ครู 1 คน ต่อผู้เรียน 20 คน ถ้าโรงเรียนแห่งหนึ่งมีผู้เรียนทั้งสิ้น 80 คน ก็จะมี
ครูได้เพียง 4 คน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วโรงเรียน 1 แห่งจะมี 8 ห้องเรียน (ชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) ทำให้
เกิดปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน 2) ได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อย เนื่องจากคำนวณตามรายหัวผู้เรียน 3) ต้นทุนใน
การจัดการเรียนการสอนต่อหัวสูง โรงเรียนขนาดเล็กกว่าประมาณ 15,089 แห่ง มีครูน้อยกว่า 1 คนต่อระดับชั้น
การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 9
“การเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและนวัตกรรมอย่างผลิกผัน เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าในยุคปกติใหม่”
วันที่ 20 มกราคม 2565
The 9th National Conference on Educational Research, Naresuan University:
Disruptive Research and Innovation for Better Education in New Normal Era
204
ซึ่งเมื่อครูไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ครู 1 คน ต้องสอนมากกว่า 1 ชั้นเรียน หรืออาจต้องสอนวิชาที่ตนเองไม่มีวุฒิทาง
การศึกษา ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนระดับประถม (ชั้นอนุบาล–ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) ต้องประสบกับปัญหาขาด
แคลนครูและทรัพยากรด้านการศึกษาตั้งแต่ต้น เมื่อพิจารณาจำนวนผู้เรียนต่อห้อง จะเห็นว่า 1 ห้องเรียนอาจมี
ผู้เรียนเพียงแค่หลักหน่วยเท่านั้น ซึ่งในปีการศึกษา 2562-2563 มีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากปรับ
แผนจัดสรรอัตราครู ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีการจัดชั้นเรียนรวม
ต้องเผชิญกับปัญหาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับทรัพยากรที่โรงเรียนได้รับการ
จัดสรรมาแล้ว
นอกจากปัญหาด้านการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแล้วผู้เขียนยังพบว่าทักษะการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพในสภาวะสังคมที่แปรปรวนผันผวน
และนับเป็นตัวชี้วัดความสามารถในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริม
ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 23 กำหนดแนวทางการจัด
การศึกษาที่มุ่งเน้นในเรื่องการฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อ
ป้องกันและแก้ไขปัญหา (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2554) รวมทั้งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทุกคนเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น
คนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก นอกเหนือจากคุณภาพ
ผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดสมรรถนะความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นใน
ศตวรรษที่ 21 หากผู้เรียนไม่ได้รับการพัฒนาจากโรงเรียนแล้วความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ก็จะ
สูญเสียไป 70%-90% หลังจากที่เข้าเรียนเพียง 1 ปี (Fred , 2011) โดยขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) การเข้าถึงปัญหา 2) การคิดวิธีการแก้ปัญหา 3) การเลือกและการเตรียมการ
4) การวางแผน และ 5) การแก้ไขการลงมือปฏิบัติ (นิพาดา เทวกุล, 2558) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์จึงเป็นพฤติกรรมการคิดที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
ทำให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษมีแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีความเหมาะสมและสามารถแก้ปัญหาให้ผ่านพ้น
ไปได้ ซึ่งความสามารถในการแก้ไขปัญหา เป็นความฉลาดด้านหนึ่งของมนุษย์หรือที่เรียกว่า AQ (Adversity
Quotient) หมายถึงการมีความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค อดทนต่อความยากลำบากโดยไม่ท้อแท้ เป็นทักษะ
ชีวิตที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่พ่อแม่พึงนำมาฝึกทักษะให้กับตัวเองและลูก เพื่อที่จะทำให้ลูกสามารถเอา
ตัวรอด ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์, 2562) นอกจากนี้อิซาเคน, เทรกกิงเกอร์
และดอวอล (Isaksen, Tregginger, & Dorval, 2003) ได้ศึกษาสิ่งที่สำคัญสำหรับการเสริมสร้างความสามารถใน
การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร (Strategic) เป็นส่วนสำคัญในการ
เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียน จะเห็นได้ว่าการให้ความสำคัญที่จะ
เปลี่ยนแปลงการกำหนดกลยุทธ์การบริหารของโรงเรียนผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่พบได้ในองค์ประกอบของความเป็นองค์กรที่มีความคิด
สร้างสรรค์สำหรับการแก้ปัญหา ฮิกกิ้นส์ เจมส์ เอ็ม (2554) สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับการบรรลุผลด้านองค์ประกอบของ
ความเป็นองค์กรนวัตกรรมเป็นผลมาจากการมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ องค์ประกอบเหล่านี้
ปัจจัยหนึ่งคือการกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ขององค์กร แนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาใน
โรงเรียนของผู้บริหาร สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร (2561) กล่าวว่าการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนที่มีความต้องการ
การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 9
“การเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและนวัตกรรมอย่างผลิกผัน เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าในยุคปกติใหม่”
วันที่ 20 มกราคม 2565
The 9th National Conference on Educational Research, Naresuan University:
Disruptive Research and Innovation for Better Education in New Normal Era
205
พิเศษ ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมโดยเริ่มต้นจากขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียน และ
จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยดังกล่าวข้างต้น และความสำคัญของการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ของผู้เรียนให้บรรลุตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งขาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2553) และจากแผนการ
ศึกษาชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ที่มีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนมีทักษะและกระบวนการในการคิด
วิเคราะห์และแก้ปัญหา มีความใฝ่รู้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สามารถพัฒนาตนเองได้
อย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ แต่จากที่ผ่านมานั้น วิธีการสอนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมยังคงมุ่งถ่ายทอด
วิชาการมากกว่าการเรียนรู้จากสภาพที่เป็นจริง ไม่เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้พัฒนาการ
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสดงความคิดเห็นและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนฝึกกระบวนการคิดแก้ปัญหา
ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นในชีวิตสังคมปัจจุบัน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2554)
ดังนั้น การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะ
การคิดแก้ไขปัญหาให้มากขึ้น นอกจากนี้ ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา (2546) กล่าวว่าการแก้ปัญหาที่มี
ประสิทธิภาพนั้น ควรเป็นกระบวนการคิดมุ่งแก้ปัญหา คิดค้นหาคำตอบและวิธีการที่ต่างไปจากที่เป็นอยู่เหมาะกับ
สภาพปัญหาแต่ละอย่างมากขึ้น มีคุณค่า มีประโยชน์ โดยกระบวนการดังกล่าวคือ กระบวนการในการแก้ไขปัญหา
เชิงสร้างสรรค์ซึ่งควรเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญของการศึกษาไทย ดังนั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) จึงได้กำหนดให้ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นทักษะที่
จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม สำหรับการพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษานั้น จะต้องอาศัย (โครงสร้าง SEAT) สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถเอื้อต่อการพัฒนา
ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ โดยเฉพาะเครื่องมือที่เน้นกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันและ
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทดลองแก้ไขปัญหา ซึ่งเครื่องมือที่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาการแก้ไขปัญหาเชิง
สร้างสรรค์ ได้แก่ รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมใน
ศตวรรษที่ 21 (Bush, 2009) เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษา ซึ่งสามารถนำมาจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยจะต้องใช้
ทักษะในการเรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีม เพื่อที่จะค้นคว้าหาคำตอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไข
ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ผู้เขียนสามารถอธิบายรายละเอียดตามขั้นตอนได้ตามกระบวนการ POCCC (Fayol, 2018)
จากกรณีศึกษาของโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2
ดังต่อไปนี้
1. การวางแผน (P – Planning) เป็นกระบวนการขั้นแรกที่สร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกันกับด้าน
นโยบาย “โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคมเป็นโรงเรียนชั้นนำตามมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมภายในปี
การศึกษา 2565” ให้ความรู้ด้านมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและการทำงานในศตวรรษที่ 21 กับ
สมาชิกประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาผู้เรียน และผู้ปกครอง
ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายตามนโยบายของ
โรงเรียนอันนำไปสู่ทิศทางการบริหารงานที่ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมเป็นพื้นฐานต่อไปในการจัดองค์กร
2. การจัดองค์กร (O - Organizing) เป็นกระบวนการบริหารงานที่เกิดจากผลในการมีส่วนร่วมของ
สมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างเห็นความสำคัญในการร่วมกันพัฒนาโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคมให้เป็นโรงเรียนชั้น
นำตามมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ผู้อำนวยการสถานศึกษาแสดงบทบาทในการเป็นผู้นำองค์กรตาม
แนวคิดเพื่อนร่วมงาน ประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารงานต่อคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยกำหนด
การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 9
“การเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและนวัตกรรมอย่างผลิกผัน เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าในยุคปกติใหม่”
วันที่ 20 มกราคม 2565
The 9th National Conference on Educational Research, Naresuan University:
Disruptive Research and Innovation for Better Education in New Normal Era
206
ระยะเวลาความสำเร็จตามนโยบาย กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามรอบปีการศึกษาให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม
วัดและประเมินผลได้จริง ทั้งนี้ผู้เขียนในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษาได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการเป็น
โรงเรียนชั้นนำตามมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมคือ ผู้เรียนระดับประถมศึกษามีความสามารถในการ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อันนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติงานอย่างอิสระภายใต้ตัวชี้วัดความสำเร็จเดียวกันกับของ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. การบังคับบัญชา (C - Commanding) เป็นกระบวนการบริหารงานที่ผู้เขียนกระจายอำนาจการ
บริหารงานวิชาการไปยังกลุ่ม 8 สาระกล่าวคือ สามารถวางแผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ตลอดจนกระบวนการวัดประเมินผล การวิจัยและการนิเทศการศึกษาให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานการจัด
การศึกษาแบบเรียนรวมโดยมีมุ่งผลลัพธ์ให้ผู้เรียนระดับประถมศึกษามีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ ผู้เขียนยังสนับสนุนกระบวนการทำงานแบบผสมผสานระหว่างกลุ่มสาระและสร้างความเชื่อมั่นต่อ
ความสำเร็จให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติการสอน
4. การประสานงาน (C - Coordinating) เป็นกระบวนการบริหารงานที่ผู้เขียนเป็นผู้ประสานงานให้ครู
และบุคลากรทางการศึกษาชี้แจงทำความเข้าใจ ร่วมกันรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการสถานศึกษาและ
ผู้ปกครอง เกิดสถานการณ์การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างสมาชิก สร้างแนวคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สร้าง
แรงจูงใจในการใฝ่รู้ใฝ่เรียนสร้างความเต็มใจสู่การเปลี่ยนแปลงจากความรับผิดชอบหน้าที่และบทบาทของตนเอง
ซึ่งเป็นลักษณะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21
5. การควบคุม (C - Controlling) เป็นกระบวนการบริหารที่ส่งผลกระทบต่อตัวชี้วัดความสำเร็จขั้น
สูงสุดที่จำเป็นต้องกำกับติดตามการปฏิบัติงานโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโดยมีผู้เขียนเป็นประธานให้
เป็นไปตามการบริหารจัดการเรียนรวมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียน
รวมเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ.2561 (สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, 2560)
5.1 การพัฒนาผู้เรียน (S – Student; IQA) เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้ทั่วไปโดยการให้
ข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกิด การยอมรับ สามารถให้ความช่วยเหลือและปฏิบัติต่อผู้เรียนที่มี
ความต้องการพิเศษ อย่างถูกวิธีครูและบุคลากรทางการศึกษาทําความเข้าใจและอธิบายลักษณะความต้องการ
พิเศษให้ผู้เรียนทั่วไปรู้จักจัดสถานการณ์จําลอง การพาผู้เรียนไปเยี่ยมชมสถานที่ดูแลผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
จัดกิจกรรมการสอนทักษะให้ผู้เรียนในการช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ เตรียมความพร้อมผู้เรียนที่มี
ความต้องการพิเศษให้ได้รับการกระตุ้นสำหรับการเรียนรู้ในชั้นเรียน พร้อมทั้งด้านอารมณ์สังคมและวิชาการ
รวมทั้งการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจําวัน การทําความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อให้ผู้เรียนที่มี
ความต้องการพิเศษช่