วิจัยในชั้นเรียนการแก้ปัญหาการแต่งกลอนสุภาพ
ฉางกาญจนกุลวิทยา โดยการใช้แบบฝึกหัดประกอบ ชื่อผู้วิจัย นางสาวพิมพ์ใจ บรรจงพินิจ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ
ชำนาญการ งานวิจัยปี 2559 บทที่1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภาษาไทยเป็นสมบัติทาง
วัฒนธรรมด้านภาษาที่มีความสำคัญต่อคนไทย การที่คนไทยมีภาษาเป็นของตนเองเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเป็น
เอกราชและแสดงถึงเอกลักษณ์ของตนเองรวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ใช้ใน การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและ
ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คนไทยทุกคนจึงควรช่วยกันธำรงรักษาภาษาไทยไว้ให้คงอยู่คู่ความเป็นไทย ดังพระราช
ดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงมีพระราชดำรัสไว้ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2505 ในคราวที่ทรงร่วมอภิปราย เรื่องปัญหาการใช้คำไทยกับชุมนุม
ภาษาไทยของคณะอักษรศาสตร์ว่า “ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียงของเรา
หลายประเทศมีภาษาของตนเอง แต่ว่าเขาไม่แข็งแรง เขาต้องพยายามหาหนทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้
มั่นคง เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาลจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้...” (กรมวิชาการ, 2539: 7-8)
ดังนั้นการสอนภาษาไทยจึงเป็นงานที่สำคัญเพราะการสอนภาษาไทยจะช่วยให้คนไทยสามารถใช้ภาษาเป็น
เครื่องมือในการสื่อสาร แสดงความรู้ความคิด ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก สามารถประกอบกิจธุระหรือการงาน
ต่างๆ ในการดำรงชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุข พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 มาตรา 22(2542:17) กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษายึด
หลักว่าผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการ
จัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ นั่นคือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ
ปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิด มีอิสระใน การเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ สามารถค้นพบความรู้
ต่างๆได้ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สามารถนำประสบการณ์ไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต
ของตนและสังคมได้(กิ่งทอง ใบหยก, 2544: 17) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบันต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน5ประการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551ดังนี้
(กระทรวงศึกษาธิการ. 2551: 6-7) 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มี
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อ
ขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2.
ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์การคิดสังเคราะห์การคิดอย่างสร้างสรรค์การคิด
อย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับ
ตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและ
อุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ
ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมแสวงหาความรู้ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและ
สิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วย การสร้าง
เสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสมการปรับตัวให้ทัน
กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบ
ต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง
ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การ
ทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทั้ง 5 ประการ
ดังกล่าวเป็นความสามารถที่หลักสูตรต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่
เอื้อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะด้วยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอทั้งด้านการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต
และการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการคิดที่มี
ความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องโดยตรงต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เพราะหากผู้เรียนมีความสามารถ
ในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้เป็นอย่างดีและมีความสามารถในการคิดแล้วย่อมจะทำให้การเรียนรู้เรื่องอื่น
ๆ มีประสิทธิภาพไปด้วย แต่เนื่อง จากผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยที่ผ่านมายังไม่เป็นที่น่าพอใจ
กล่าวคือยังต้องปรับปรุงด้านความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด และการแก้ปัญหาซึ่งหากผู้เรียนยังไม่มี
ทักษะดังกล่าวอย่างเพียงพอย่อมจะมีผลทำให้ผู้เรียนไม่มีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี โดยทั่วไปแล้วการเรียนการ
สอนภาษาไทยมักจะเน้นหนักในด้านความรู้ ความจำ เน้นเฉพาะเนื้อหาวิชาการและมักไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ได้ใช้วิธีการหรือทักษะกระบวนการต่าง ๆ มาแก้ปัญหาด้วยตนเอง จึงมีผลทำให้ผู้เรียนไม่ได้ฝึกทักษะการคิด และ
ไม่สามารถคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ได้สุจริต เพียรชอบ และ สายใจ อินทรัมพรรย์ (2538:3) ได้กล่าวถึงปัญหา
การเรียน การสอนภาษาไทยไว้ว่า ผู้เรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อภาษาไทย ไม่สนใจเรียนหันไปสนใจเรียนวิชาอื่น โดย
คิดว่าภาษาไทยไม่สำคัญ ไม่ต้องเรียนก็พูดได้แล้ว อีกทั้งยังรู้สึกว่า ภาษาไทยเป็นวิชาที่ยาก ต้องท่องจำมาก
คะแนนน้อย ขาดกำลังใจในการแก้ไขข้อบกพร่องเพราะเมื่อมีข้อบกพร่องครูมักจะตำหนิมากกว่าให้กำลังใจ ทำให้
นักเรียนไม่อยากเรียนเกิดความท้อแท้หมดกำลังใจ จึงสามารถสรุปปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทย
โดยทั่วไปได้ว่า หลักสูตรภาษาไทยเน้นการสอนทักษะต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน แต่ครูมักสอนโดยวิธีบรรยาย มุ่งสอนให้
นักเรียนสอบได้ และมักจะไม่ค่อยให้นักเรียนได้ฝึกคิดและปฏิบัติมากเท่าที่ควร ประกอบกับเนื้อหาวิชาภาษาไทยมี
เนื้อหาค่อนข้างยาก ซึ่งนักเรียนจะไม่ชอบจึงทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ จากการเรียนการสอน
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ใน ภาคเรียนที่2 มีการเรียนในเนื้อหาของการ
แต่งคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ เช่นกาพย์ กลอน และโคลง ซึ่งมีเนื้อหาที่สอดคล้องกัน ทำให้มีการนำมาประยุกต์
เรียนร่วมกัน เพื่อบูรณาการในการสอนอย่างเต็มที่ ผู้วิจัยและในฐานะครูผู้สอนมองเห็นถึงความสำคัญของการแต่ง
คำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ในเรื่องของกลอนสุภาพมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาก
เช่น การยกตัวอย่างผลงานของท่านพระสุนทรโวหาร(ภู่) หรือที่เรารู้จักนั้นก็คือ “ท่านสุนทรภู่” ของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้ผนวกแบบฝึกหัดและกิจกรรมการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอน โดยใช้
แบบฝึกหัด เพื่อพัฒนาความเข้าใจและเกิดจินตนาการในการประพันธ์ในรูปแบบกลอนสุภาพ(กลอนแปด)มาก
ยิ่งขึ้น จากการที่ผู้วิจัยเริ่มทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2559 และ
ได้รับมอบหมายให้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 และชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2/10 เมื่อเข้าสู่ภาคเรียนที่ 2 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ผู้วิจัยได้เริ่มทำการสอนในรายวิชา
ภาษาไทยพื้นฐาน ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้องเรียน ผู้วิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีการ
เข้าใจผิดรูปแบบคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ อย่างคลาดเคลื่อน ทั้งจำนวนคำที่ใช้ในการประพันธ์ การบังคับ
สัมผัสภายในบท และที่สำคัญคือการบังคับสัมผัสระหว่างบท ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบทดสอบเรื่องกลอนสุภาพ
เพื่อมาทดสอบจำนวน 10 ข้อ เป็นแบบ 4 ตัวเลือก ให้นักเรียนได้ทดสอบ ผลปรากฏว่ามีนักเรียนที่ทำไม่ผ่านครึ่ง
ของแบบทดสอบทั้งหมดจำนวน 3 คน จากนักเรียนทั้งห้อง 49 คน ผู้วิจัยจึงคิดที่จะวิจัย เรื่อง กลอนสุภาพนี้โดย
การสอนเสริมในช่วงพักกลางวันเรื่องกลอนสุภาพโดยจะใช้เนื้อหาการสอนดังนี้1. ลักษณะกลอนสุภาพ 2.
วรรณคดีที่ประพันธ์โดยกลอนสุภาพ 3. การเปรียบเทียบกลอนสุภาพกับคำประพันธ์ประเภทอื่นๆ 4. การ
เปรียบเทียบ และมีแบบฝึกหัดให้นักเรียนได้ทำท้ายคาบเรียน จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย ผู้วิจัยจะแก้ปัญหาโดย
การใช้แบบฝึกหัดเป็นสื่อในการแก้ปัญหา โดยให้นักเรียนแต่ละคน ทดลองแต่งกลอนสุภาพ เพื่อที่นักเรียนจะได้จำ
รูปแบบคำประพันธ์ได้อย่างถูกต้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 เรื่องกลอนสุภาพ ที่เรียนด้วยใบความรู้ และชุดแบบฝึกทักษะ 3 ชุด ระหว่าง
คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ให้นักเรียน อธิบายรูปแบบคำประพันธ์ของกลอนสุภาพได้ถูกต้อง ขอบเขตของ
การวิจัย 1. ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. เนื้อหา
ที่นำมาใช้ในการทดลอง ผู้ศึกษาได้นำเนื้อหาเรื่อง 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
ใช้เวลาทดลอง 5 คาบ คาบละ 30 นาที จำนวน 1 สัปดาห์ วันละ 1 คาบ เป็นเวลา 5 วัน ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปร
ต้น ได้แก่ แบบฝึกทักษะทั้ง 3 ชุด ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์การเรียนเรื่องกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 บอกรูปแบบคำประพันธ์
ประเภทกลอนสุภาพ ได้อย่างถูกต้อง 2. ได้แนวทางสำหรับผู้ที่สนใจในการแก้ปัญหาการบอกรูปแบบคำประพันธ์
ประเภทกลอนสุภาพ โดย การใช้แบบฝึกหัดประกอบ นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันผู้ศึกษาจึงได้
กำหนดนิยาม ขอบเขตหรือความหมายของคำศัพท์เฉพาะไว้ดังนี้1. แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ หมายถึง
แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. แบบฝึกทักษะการคิด
หมายถึง แบบฝึกทักษะการคิดอย่างหลากหลายที่ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าจากเอกสาร ตำราวิชาการต่าง ๆ และแนวคิด
ของนักวิชาการทางการศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการคิดของผู้เรียน 3. ผู้เรียน หมายถึง นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยาอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ซึ่งผู้ศึกษา
ได้รับมอบหมายให้สอนตามคำสั่งของโรงเรียน 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในเนื้อหาวิชาภาษาไทย เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ วัดได้จากแบบฝึกท้ายเล่มหลัง
แบบฝึกทักษะและจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 5. เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
หมายถึง ประสิทธิภาพของแบบฝึกที่คาดหวังโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนจากการประเมินระหว่าง
เรียนและหลังเรียน จะมีเท่ากับหรือเท่า 80 ทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียน 80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยจา
การทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยในการทำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนจบบทเรียน ของนักเรียนทุกคนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 6. แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการแต่งกลอนสุภาพ หมายถึง แบบทดสอบเพื่อทดสอบความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพ ก่อน
การใช้แบบฝึกทักษะและหลังใช้แบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 7. ความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพ หมายถึง
ความสามารถในการใช้คำสอดคล้องกับฉันทลักษณ์กลอนสุภาพซึ่งได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
แต่งกลอนสุภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกตามหลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551 ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้1. เอกสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 2. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3. เอกสาร
เกี่ยวกับหลักจิตวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 4. เอกสารเกี่ยวกับการอ่าน ความสำคัญและประโยชน์ของการ
อ่าน 5. เอกสารเกี่ยวกับแบบฝึกเสริมทักษะ การศึกษาครั้งนี้มีเอกสารที่เกี่ยวข้องที่สำคัญที่ผู้ศึกษาได้ใช้เป็น
แนวทางในการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพของผู้เรียนดังต่อไปนี้1. เอกสารเกี่ยวกับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (2542 : 12-
14) ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ในมาตรา 22 และ
มาตรา 24 ในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ดังนี้มาตรา 22 : การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี
ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้อง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 24 : การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้
สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความ
สนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การ
จัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน
ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้xxxส่วนสมดุลกัน รวมทั้ง ปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชา (5) ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ
สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวย ความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้ง
สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการ
เรียน การสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสาน
ความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ผู้ศึกษา
จะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเชื่อมโยงกับสาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนรู้ตามความมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ต่อไป 2. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(2551 : 5-7,12 ) ได้กำหนดสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เอาไว้ในหลักการ จุดหมาย คุณภาพของ
ผู้เรียน สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งผู้ศึกษาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและแนวทางเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้
สอดคล้อง ดังนี้วิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้
เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมือง
โลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะ
พื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักการ หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ
มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจต
คติและคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชนที่
ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการ
กระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็น
หลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้เวลาและการจัดการเรียนรู้5. เป็นหลักสูตร
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์จุดหมาย หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและ
ประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อเรียนคบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้1. มีคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการ
สื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและ
รักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ
การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรม
และภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม
และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข สมรรถนะ สำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่
กำหนดนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5ประการ ดังนี้1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถ
ในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกและทัศนะของ
ตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้ง
การเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล
และความถูกต้อง ตลอดจน การเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและ
สังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
เกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหา
และอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ
เข้าใจความสัมพันธ์และ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมแสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ใน
การป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและ
สิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วย การสร้าง
เสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทัน
กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบ
ต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง
ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การ
ทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม คุณภาพของผู้เรียนภาษาไทยเมื่อจบชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้1. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง
เป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง เข้าใจความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย จับใจความสำคัญและรายละเอียด
ของสิ่งที่อ่าน แสดงความคิดเห็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด ย่อความ เขียน
รายงานจากสิ่งที่อ่านได้ วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ลำดับความอย่างมีขั้นตอนและความเป็นไปได้ของเรื่องที่
อ่าน รวมทั้งประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน 2. เขียนสื่อสารด้วยลายมือที่อ่านง่าย
ชัดเจน ใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับภาษา เขียนคำขวัญ คำคม คำอวยพรในโอกาสต่าง ๆ โฆษณา คติ
พจน์ สุนทรพจน์ ชีวประวัติ อัตชีวประวัติและประสบการณ์ต่าง ๆ เขียนย่อความ จดหมายกิจธุระ แบบกรอกสมัคร
งาน เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์และแสดงความรู้ ความคิดหรือโต้แย้งอย่างมีเหตุผล เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
และเขียนโครงงาน 3. พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินสิ่งที่ได้จากการฟังและดู นำข้อคิดไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบมีศิลปะในการ
พูด พูดในโอกาสต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และพูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล น่าเชื่อถือ มีมารยาทในการฟัง ดู
และพูด 4. เข้าใจและใช้คำราชาศัพท์ คำบาลีสันสกฤต คำภาษาถิ่น คำภาษาต่างประเทศ คำทับศัพท์และคำศัพท์
บัญญัติในภาษาไทย วิเคราะห์ความแตกต่างในภาษาพูด ภาษาเขียน โครงสร้างของประโยครวม ประโยคซ้อน
ลักษณะภาษาที่เป็นทางการ กึ่งทางการและไม่เป็นทางการ แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ กาพย์และโคลง
สี่สุภาพ 5. สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ วิถีชีวิตไทยและคุณค่าที่ได้รับจาก
วรรณคดี วรรณกรรมและบทอาขยาน พร้อมทั้งสรุปความรู้ ข้อคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง สาระและ
มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 1 : การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1: ใช้กระบวนการอ่าน
สร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน สาระที่ 2 : การ
เขียน มาตรฐาน ท 2.1 : ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความและเขียนเรื่องราวในรูปแบบ
ต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้า อย่างมีประสิทธิภาพ สาระที่ 3 : การฟัง การดู
และการพูด มาตรฐาน ท 3.1 : สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด
ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์สาระที่ 4 : หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 :
เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา
และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติสาระที่ 5 : วรรณคดี และวรรณกรรม มาตรฐาน ท 5.1 : เข้าใจ และ
แสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย อย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดเอาไว้ในหลักสูตรในส่วนของหลักการ จุดหมาย คุณภาพของ
ผู้เรียน และสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ดังกล่าวนั้น เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ศึกษาที่จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและ
แนวทางสำหรับการศึกษาในครั้งนี้เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรต่อไป 3. เอกสารเกี่ยวกับหลักจิตวิทยาการ
จัดการเรียนรู้ภาษาไทย การนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการจัดการเรียนรู้จะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ประสบ
ความสำเร็จ ดังที่นักวิชาการได้เสนอแนะแนวทางการนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ต่อไปนี้
สุจริต เพียรชอบ (2530 : 137-138) เสนอหลักจิตวิทยาการจัดการเรียนรู้ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการ
จัดการเรียนรู้ภาษาไทยได้ดังนี้1) ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า
ผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้ ความถนัด ความสามารถ และความสนใจทางภาษาแตกต่างกันจึงไม่ควรคาดหวังที่จะให้
ผู้เรียนทุกคนทำได้เหมือนกันหมด แต่ก็ควรพยายามจัดระบบการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้เกิดความเจริญงอกงามให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้2) การเรียนรู้โดยการฝึกฝนตามกฎการเรียนรู้ (Law of
Exercise) ของธอร์นไดค์ เกี่ยวกับกฎแห่งการฝึกหัด การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีต่อเมื่อให้มีการฝึกฝน การกระทำซ้ำ
ถ้าผู้เรียนได้ฝึกฝนและทำแบบฝึกหัดได้ใช้ทักษะทางภาษามากเท่าใดก็จะช่วยให้มีทักษะดีมากขึ้นเท่านั้น 3) การ
เสริมกำลังใจ (Reinforcement) การเสริมกำลังใจทางบวกจะเป็นสื่อช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าสิ่งที่ตนแสดงออกไปนั้น
ถูกต้อง เมื่อผู้เรียนทราบว่าตนทำได้ถูกต้องก็จะเกิดความภาคภูมิใจและพยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์ (2536 : 65-66) กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลบางประการที่ครู
ควรนำมาใช้ในการสอนภาษาไทย สรุปได้ว่า สิ่งที่ครูภาษาไทยจะต้องคำนึงเกี่ยวกับการเรียน การสอนภาษาคือ
ความรู้ ความถนัด ความสามารถและความสนใจภาษาของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุต่าง ๆ เช่น
สภาพร่างกาย สติปัญญา สภาพครอบครัว สิ่งแวดล้อม การปลูกฝังหรือเอาใจใส่จากพ่อแม่ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่
นักเรียนหญิงจะมีความถนัด ความสามารถและทักษะทางภาษาดีกว่า ส่วนนักเรียนชายจะมีความสามารถในการ
คิดได้ลึกซึ้งกว่า ดังนั้น ครูควรทดสอบความสามารถทางภาษาของผู้เรียนก่อนสอนเพื่อจะได้จัดการเรียนรู้อย่าง
เหมาะสม และไม่ควรคาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะทำได้เหมือนกัน แต่ควรจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนพัฒนาได้ตามสภาพ
ของตนเอง นอกจากนั้นครูควรส่งเสริมผู้เรียนเก่งและซ่อมเสริมผู้เรียนที่มีทักษะการใช้ภาษาต่ำเป็นพิเศษด้วย กรม
วิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ระบุไว้ในคู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (2544 : 35-36)
เกี่ยวกับการสอนภาษาไทยสรุปได้ว่าให้ครูคำนึงถึงการสอนแบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระ หมายความว่า นำ
เนื้อหาย่อยหรือทักษะย่อยต่าง ๆ มาสัมพันธ์กันในลักษณะสัมพันธ์ทักษะหรือทักษสัมพันธ์จัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความคิดทักษะ และความคิดรวบยอดระหว่างการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่สามารถใช้ในชีวิตจริงได้นอกจากนี้ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544 : 51-52) ยัง
ได้กำหนดคุณลักษณะและบทบาทของผู้สอนต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเอาไว้ ซึ่งมีบาง
ประการที่ควรพิจารณา สรุปได้คือ ครูควรมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาภาษาไทยเป็นอย่างดี ใช้ภาษาไทยในการ
สื่อสารได้ดีและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ มีความสามารถในการ
วัดผลและประเมินผลหลายรูปแบบ มีความรู้ความเข้าใจในจิตวิทยาแล