รูปแบบซีท-คอพ21 ซีพีเอส เสริมสร้างความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างส
รูปแบบซีท-คอพ21 ซีพีเอส ผู้เขียนสร้างขึ้นสำหรับงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา” โดยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน แนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวมแนวคิดเกี่ยวกับศตวรรษที่ 21และแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ผู้เขียนมุ่งศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของบุช ด้วยแนวคิดเพื่อนร่วมงาน 6 งานกล่าวคือ 1) การให้ความชัดเจนในการมีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายจากนโยบายของสถานศึกษา 2) การมอบหมายอํานาจหน้าที่ด้วยการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) การกําหนดมาตรฐานการทํางานด้วยความไว้วางใจด้วยการบริหารแบบกระจายอำนาจ 4) การฝึกอบรม การพัฒนา ให้ความรู้และสารสนเทศด้วยการบริหารสู่ศตวรรษที่ 21 5) การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดขึ้นและยอมรับข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และ 6) การถึงเป้าหมายสูงสุด ผู้เขียนสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กด้วยแนวคิดเพื่อนร่วมงาน โดยอาศัยกระบวนการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของฟาโยล 5 ขั้นตอนกล่าวคือ 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร (3) การบังคับบัญชา 4) การประสานงาน และ 5) การควบคุม โดยบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการสอนและประเมินผลความสอดคล้องกับโครงสร้าง SEAT ควบคู่กับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียน จากกรณีศึกษาของโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2
คำสำคัญ: รูปแบบซีท, การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์